แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย เครื่องมือกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ จำนวน 400 คน และแบ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการเก็บแบบสอบถามจากการใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย จำนวน 400 คน การรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัย ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 16-30 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา/เทียบเท่า มีอาชีพนักเรียนนักศึกษา มีภูมิลำเนาที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและเคยเที่ยวชมเพียงครั้งเดียว นิยมเดินทางมากับคณะทัวร์และจุดมุ่งหมายในการเดินทางเพื่อทัศนะศึกษาหาความรู้ นิยมเดินทางท่องเที่ยวในวันเสาร์ และได้รับข้อมูลทาง internet ด้านโฆษณาพบว่านักท่องเที่ยวมีแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก   ( = 3.92)  เช่น การระบุหมายเลขโทรศัพท์ เว็บไซต์ ช่องทางการติดต่ออย่าง ( = 3.96)   ด้านการขายโดยใช้พนักงานขาย พบว่า นักท่องเที่ยวมีแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก        ( = 3.94)  เช่น เจ้าหน้าที่แสดงความยินดีให้ข้อมูลและให้บริการ  ( = 3.98) ด้านการส่งเสริมการขาย พบว่า นักท่องเที่ยวมีแนวทางการส่งเสริม การท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ( = 4.09) เช่น สามารถสร้างแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี (= 3.92) และด้านการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ ( = 3.97) พบว่า นักท่องเที่ยวมีแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ข้อมูลข่าวสารถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้เข้าชม ( = 4.10) ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มช่องทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึ้น เช่น โทรทัศน์ เว็บไซต์อื่นๆ ควรเพิ่มช่องทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึ้น เช่น โทรทัศน์ เว็บไซต์อื่นๆ เป็นต้น ควรเพิ่มรายละเอียดของเอกสารแผ่นพับให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น จัดกิจกรรมพิเศษเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มความน่าสนใจของป้ายประกาศ สื่อโฆษณาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ควรเพิ่มจำนวนของเจ้าหน้าที่ บุคลากร วิทยากรที่ให้ความรู้ เพื่อความเพียงพอต่อการให้บริการ ควรเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในด้านข้อมูลรายละเอียดในการให้ข้อมูล ควรเพิ่มกิจกรรมปลูกจิตสำนึกบุคลากร เจ้าหน้าที่ ให้มีการให้บริการและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
แต่งตั้งลำ ศ. . (2020). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 4(1), 55–65. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/248861
บท
บทความวิจัย

References

จุฑาภรณ์ หินซุย. (2556). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษา วัดประชาคมวนาราม อำเภอศรี
สมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด.

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2557). การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนเขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร.

มัชฌิมา อุดมศิลป์. (2556). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อการพัฒนาที่ยังยืนของชุมชนคลองโคนจังหวัด
สมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงสมร ฟักสังข์. (2556). การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบล
ศาลายา จังหวัดนครปฐม.

ประหยัด ตะคอนรัมย์. (2555 ). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน :กรณีศึกษาตลาดริมน้ำดอนหวาย

พงษ์สันติ์ ตันหยง. (2557). ตัวแบบการพัฒนาธุรกิจข้าวหลามเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม. จังหวัดนครปฐม.

พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล. (2555). การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
นิเวศน์ในจังหวัดปทุมธานี.

พีรณัฐ โชว์สูงเนิน. (2557). แผนพัฒนาและแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว.

พึงพิศ ลักขณาลิขิตกุล. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสน.

รัญจวน ทองรุด. (2555). การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในสหัสศวรรษใหม่จะเป็นอย่างไร.

วงศ์กังวาน อรุณรุ่ง. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตกรุงเทพมหานครในกลุ่มนักท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.

วัชนุพันธ์ วณิชชาภิวงศ์. (2555). แนวทางการส่งเสริมและการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยาในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง.

สุดชีวัน นันทวัน ณ อยุธยา. (2555). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง.

สุวัฒนา ธาดานิติ. (2558). การส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวริมชายฝั่งแม่น้าเจ้าพระยากรณีศึกษา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี : การ
ค้นคว้าอิสระ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

เสาวลักษณ์ นวเจริญกุล. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัด
กาญจนบุรี.

เสาวลี ทองเจิม. (2555). สภาพปัจจุบันของการจัดการสภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์
สัตว์ป่าเขาพระแทว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต.

อิทธิพล โกมิล. (2555). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา บ้านวังน้ำมอก จังหวัดหนองคาย.

อิทธิพล ไทยกมล. (2555 ). ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา ชุมชน ตําบลบางหญ้า
แพรก จังหวัดสมุทรสาคร.