การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการไขปัญหายาเสพติดตามหลักพุทธธรรมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากเอกสาร คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดประกอบด้วยกระบวนการค้นหาปัญหา การให้คืนข้อมูลแก่ชุมชน การวางแผนดำเนินงานกระบวนการดำเนินงาน การประสานภาคีภาคส่วน และกระบวนการติดตามผลการดำเนินงาน
2) หลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่ 1) หลักอริยสัจสี่ คือ การเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาและวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหายาเสพติด คิดค้นวิธีการแก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา 2) หลักอปริหานิยธรรม คือ หลักการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มคณะ ซึ่งมีการรวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผลแห่งการกระทำคือ ความเป็นปกติสุขในสังคม 3) หลักสามัคคีธรรม
คือ การสร้างควาร่วมมือ ปรองดอง เกื้อกูลรักใคร่ เมตตาต่อกัน 4) หลักประโยชน์ 3 ประการ ซึ่งเป็นฐานคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยประกอบด้วย หลักประโยชน์ในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์) โดยเน้นให้คนในชุมชนดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รู้จักการแสวงหาทรัพย์ กรเก็บรักาทรัพย์อย่างถูกวิธี หลักประโยชน์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถประโยชน์) คือ การปฏิบัติตนเหมาะสมตามหลัก
ศีลธรรม เชื่อกฎแห่งการทำดีทำชั่วและหลักประโยชน์อย่างยิ่ง คือ การดำรงตนอย่างสงบสุขด้วยปัญญาใตร่ตรอง มีสติเท่าทันความทุกข์เพราะโลภ โกรธ หรือหลง 5) หลักธรรมไตรสิกขา คือ ได้รักษาศีล ได้เจริญสมาธิ และได้เจริญปัญญา
3) วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามหลักพุทธธรรม พบว่า หลักพุทธธรรมสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้จริง กล่าวคือ เมื่อเรานำหลักธรรมเหล่านั้นมาประพฤติปฏิบัติจะทำให้เรามีความรู้ มีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรเป็นประโยชน์ และไรมิใช่ประโยชน์ ทำให้เกิดความห่วงใยในปัญหาของคนในสังคม มีสำนึกร่วมทางสังคม เกิดพลังสามัคคี สร้างกระบวนการการเรียนรู้ทางสังคมร่วมกันมีความเชื่อในพลังของชุมชน การฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี และความสงบสุขของสังคม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2549). สาระสำคัญของการของการดำเนินงานภายใต้คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง และคณะ. (2527). การประยุกต์หลักพุทธะรรมมาใช่ในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.