ศึกษาวิเคราะห์พุทธกิจ การประกาศพระพุทธศาสนาในพรรษาที่ 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาพุทธกิจของพระพุทธเจ้า 2) เพื่อศึกษาการประกาศพระพุทธศาสนาในพรรษาที่ 7 3 ) เพื่อวิเคราะห์พุทธกิจในการประกาศพระพุทธศาสนาในพรราที่ 7 ศึกษาวิจัยโดยการค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตำรา และเอการที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า พุทธกิจเป็นกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญหือการงานที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นปกติหรือเป็นกิจวัตรในแต่ละวันและปฏิบัติตลอดระยะเวลา 45 พรรษา มีทั้งหมด 5 อย่าง ซึ่งการปฏิบัติพุทธกิจนี้ ถือเป็นหน้าที่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีต่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนกันทุกพระองค์ โดยอาศัยพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระกรุราคุณเป็นที่ตั้ง พุทธกิจในการประกาศพระพุทธศาสนาในพรรษาที่ 7 พระพุทธองค์ทรงมีรูปแบบการปฏิบัติธรรมที่มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์หรือบริบทของผู้ฟัง เช่น เป็นการแสดงแบบง่าย ๆ ในลักษณะสนทนา ถาม-ตอบ หากแสดงแก่ผู้ฟังหลายคนก็มีรูปแบบเป็นทางการมากกว่า เช่น การให้โอวาทภิกษุหลายรูป การแสดงธรรมในธรรมสภา เป็นต้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
พระเทพเวี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพมหานคร: เอดิสัน เพรส โปรดักส์.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รังสี สุทนต์. (2554). พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). พุทธประวัติ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 53. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุรีย์ มีผลกิจ. (2551). พระพุทธประวัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคอมฟอร์ม จำกัด.