การให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ชาญวิทย์ ไชยมีสุข
บุญเหลือ บุบผามาลา
ดนัย ลามคำ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ 2) เปรียบเทียบระดับการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาในการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา  บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่ได้รับบริการจากศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา  บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ใน 6 หมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตบริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา จำนวน 359 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (t-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)     


ผลการวิจัยพบว่า


         1. การให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านผู้ให้ข้อมูล/ผู้ถ่ายทอด ( = 4.22) รองลงมาคือด้านกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ( = 4.11) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสื่อการเรียนรู้ ( = 3.64)


         2. ผลการเปรียบเทียบระดับการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา บ้านนาถ่อน ตำบล บงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


         3. แนวทางการพัฒนาในการให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้แก่ การดูแลและสนับสนุน ส่งเสริมการเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างการสื่อสารและการสร้างความตระหนัก

Article Details

How to Cite
ไชยมีสุข ช. ., บุบผามาลา บ. . ., & ลามคำ ด. (2025). การให้บริการของศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา บ้านนาถ่อน ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 10(1). สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/281343
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชาญวิทย์ ไชยมีสุข, คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสศาตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

lecturer

References

ภาษาไทย

กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีเตาหลอมเหล็ก ต่อโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”. รายงานการวิจัย. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

คณิสร แก้วคำ. (2562). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 1(1), 25-36.

ธนัชวันต์ นฤทุม. (2564). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อศูนย์ธุรกิจและตลาดกลางผลิตผลการเกษตรของ สหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุษกร รังษีภโนดร และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). คุณภาพของการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่.

ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รมัทร์ ขันแก้ว และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2561). คุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ฉบับเสริม ครบรอบ 12 ปี, 174 -184.

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2537). การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยา สาส์น.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York Harper & Row.

ภาษาอังกฤษ

Chankerd P. (2017). Service quality of Nakhon Sawan Municipality according to public perception. Master of Public Administration Thesis. Nakhon Sawan Rajabhat University, Graduate School, New Public Management Program.

Khumkhong P. (2014). Public opinion on the service quality of Na Yai Am Subdistrict Municipality, Na Yai Am District, Chanthaburi Province. Master of Public Administration Thesis, Public and Private Sector Management Program. Burapha University.

Khankaew R. and Ratchapibulphop P. (2018). Service quality of police stations in Mueang District, Nonthaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruek University. Supplementary Edition, 12th Anniversary, 174 -184.

Kaewpradit E. (1994). Educational Technology Research. 2nd ed. Bangkok: Suwiriya Sasan.

Kaewkham K. (2019). Service quality of Thung Luang Subdistrict Municipality, Pak Tho District,

Ratchaburi Province. Journal of Social Sciences, Prachachuen Research Network. 1(1), 25-36.

Naruthum T. (2021). Consumer satisfaction with the business center and agricultural product market of Khlong Luang Agricultural Cooperative Limited. Independent study for the Master of Cooperative Economics. Kasetsart University.

Rangsiphanon B. and Rojanatrakool T. (2022). The quality of civil registration services of the Local Registration Office of Phitsanulok Municipality. Master of Public Administration Thesis, Public Administration Program. Pibulsongkram Rajabhat University.

Research and Development Group, Community Development Institute. (2021). The results of learning management based on the iron blast furnace theory for the prototype area development project for quality of life development based on the new theory applied to the “Khok Nong Na Model”. Research report. Department of Community Development, Ministry of Interior.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York Harper & Row.