การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นําที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ : กรณีศึกษาตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณลักษณะผู้นำที่พึง ประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ และเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวม ในระดับมาก
2. หลักสังคหวัตถุธรรม มีความสัมพันธ์กับหลักภาวะผู้นําเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นําที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมในระดับสูงมาก
3. แนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นําที่พงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ : ศึกษากรณีตําบลแพง อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ควรเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความสามารถ สร้างเจตคติที่ดีและการ คิดในแง่บวก สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน ทุ่มเทและ มีความพยายามในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพคอยให้กําลังใจและ คำปรึกษาให้แก่ผู้ร่วมงาน ในยามที่ต้องเจอปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
ฐานข้อมูลประชากรตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaitambon.com/tambon/40305.
ดนัย วงศ์อมรอัครพันธ์. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสภาทนายความ ตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นภเกตน์ ตารมย์. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นําเชิงพุทธตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราชเขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุรศักดิ์ สติสมฺปนโน. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาตาม หลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พฤกษา พุทธรักษ์. (2552). การบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรตามหลักสังคหวัตถุ 4 : กรณีศึกษา สหกรณ์การเกษตรในเขตจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2560). การประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ. กรุงเทพมหานคร: ข่าวกระทรวงการคลัง.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. วารสารไทยคู่ฟ้า. 32(1-42).
สุนารี งามทรัพย์. (2562). การศึกษาผลการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อัศนีย์ สุกิจใจ. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงวิชาการตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียน วิถีพุทธ ในจังหวัดนคสวรรค์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Phaeng Subdistrict Population Database Kosum Phisai District Maha Sarakham Province. Retrieved March 1, 2021, from https://www.thaitambon.com/tambon/40305.
Danai Wongamornkaraphan (2010). Satisfaction of the people towards the services of the Lawyers Council. According to Sangahavatthu 4. Master’s degree thesis Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Naphaket Taromya. (2018). Components of Buddhist Leadership According to the Secondary Pāpanika Sutra of school administrators Under the Office of Primary Educational Service Area Nakhon Si Thammarat Khet 2. Master’s Degree Thesis Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramahasurasak Sitsampanano. (2010). Principles of Sankhahavathu 4. Master’s Degree Thesis Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Pruksa Buddharak. (2009). Management of Agricultural Cooperatives According to Sankhahavatthu 4 : A Case Study of Agricultural Cooperatives in Nakhon Nayok Province. Master’s Degree Thesis Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University (1996). Thai Tipitaka. Mahachulalongkornrajavidyalaya University edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Printing Press.
Office of Macroeconomic Policy Fiscal Policy Office. (2017). Announcement of qualified candidates. The registration program for the state welfare. Bangkok: News of the Ministry of Finance.
Secretariat of the Prime Minister (2018). Innovative State Welfare Measures to Solve Poverty Problems. Thai Koo Fah Journal. 32 (1-42).
Sunaree Ngamsub. (2019). A study of the use of the state welfare card of the people in Nang Rong District. Buriram Province. Master of Public Administration Thesis Nakhon Ratchasima Rajabhat University.
Asanee Sukitjai. (2018). Models of Academic Leadership Development Based on Buddhist Principles of Buddhist School Administrators in Nakhon Sawan Province. Doctor of Philosophy Thesis Mahachulalongkornrajavidyalaya University.