อำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปกครองของประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้มักจะเป็นการปกครองโดยผู้มีอำนาจภายในรัฐแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงเกิดการใช้อำนาจการปกครองไปในทางที่มิชอบ ประชาชนจึงได้รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และเมื่อเกิดผลสำเร็จจึงจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นโครงสร้างที่กำหนด องค์กร กลไกของการบริหารประเทศดังนั้น กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) จึงเป็นการจัดทำเพื่อแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างจุดเด่นของระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศไทย มักจะเป็นการนำเอาตัวบทมาเทียบเคียงกันว่าขาดตกบกพร่องในเรื่องใดหรือจะเพิ่มเติมสิ่งจึงจะได้ดำเนินการแก้ไข โดยวิธีการดังกล่าวนั้นได้กระทำมาโดยตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหารากฐานที่แท้จริงของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่ละประเทศนั้น จะมีรูปแบบการจัดทำรัฐธรรมนูญที่เหมือนหรือคล้ายกัน แต่สำหรับประเทศไทยอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ในทางทฤษฏีของกฎหมายรัฐธรรมนูญถือว่าอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่ควบคู่กันกับอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ เพราะหากไม่มีผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญก็ย่อมไม่มีผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ เว้นแต่ในบางกรณี ผู้มีอำนาจจัดให้มีกับผู้มีอำนาจในการจัดทำจะเป็นบุคคลเดียวกันกล่าวคือ “ผู้ก่อการปฏิวัติ” หรือ ผู้ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จ อาจนำรัฐธรรมนูญที่กลุ่มของตนร่างเตรียมไว้แล้วออกประกาศใช้ กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นเกิดจากผู้มีอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ กับผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นบุคคลคนเดียวกัน
Article Details
References
BBC. (2014). Abraham Lincoln (1809-1865). Retrieved from http://www.bbc.co.uk/history/historic_ figures/lincoln_abraham.shtml
Charernthanawat, K. (2011). Basic principles of public law on state, constitution and law (5th ed.). Bangkok: Vinyoochon. (in Thai)
Deesawat, A. (2018). Thai Constitution Drafting Council. Retrieved from https://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/2561-anucha.pdf (in Thai)
Jumpa, M. (2012). Explanation of the constitution of the kingdom of Thailand (2007), Book 1 (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Jumpa, M. (2014). Constitutional law (2nd ed.). Bangkok: Nititham. (in Thai)
Kreangam, W. (2013). General knowledge about law, Unit 3. In Teaching documents, Public Law set, Unit 1-7 (56th ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University. (in Thai)
Luernshavee, P. (2011). Constitutional law and political institutions (9th ed.). Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Mewongukote, B. (2012). Constitutional law (6th ed.). Bangkok: Thammasat University. (in Thai)
Office of the Secretariat of the House of Representatives. Academic Services Group 1. (2018). Record important events in preparation The Constitution of the Kingdom B.E. 2017. Retrieved from https://library2. parliament.go.th/ebook/content-ebbas/2561-acd1.pdf (in Thai)
Rousseau, J.J. (2012). Du Contract Social. (Wipada Kittikovit) (2nd ed.). Bangkok: ZD Productions Studio. (in Thai)
Royal Academy. (2013). Royal Institute Dictionary 2011. Bangkok: Royal Academy. (in Thai)
The law dictionary: Featuring Black’s law dictionary free online legal dictionary. (n.d.). (2nd ed.). [website].Retrieved from https://thelawdictionary.org/constitutional-law/