ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครในภาคตะวันออก

Authors

  • ธัญพิชชา สามารถ นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ รองศาสตราจารย์ ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครในภาคตะวันออก วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครในภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครในภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครในภาคตะวันออก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เทศบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครระยอง จำนวน 335 คน คิดเป็นร้อยละ 85.89 ของแบบสอบถามที่เก็บจริง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้โปรแกรม LISREL

ผลการศึกษาพบว่า

1) บุคลากรในเทศบาลนครในภาคตะวันออก มีความผูกพันต่อองค์การด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับเป้าหมายขององค์การ และความผูกพันต่อองค์การด้านความทุ่มเทเพื่อความสำเร็จขององค์การ อยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์การด้านความตั้งใจที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์การ อยู่ในระดับน้อย

2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ เรียงตามลำดับ คือ วัฒนธรรมองค์การ (TE=.54) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (TE=.31) คุณภาพชีวิตในการทำงาน (TE=.22) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (TE=.21) โดยปัจจัยทั้งหมดมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การที่ระดับ .01

3) ตัวแบบที่พัฒนาขึ้น (Proposed Model) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (χ2/df เท่ากับ 1.31 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า RFI เท่ากับ .98 ค่า SRMR เท่ากับ .03 ค่า RMSEA เท่ากับ .03 ค่า GFI เท่ากับ .97 และค่า AGFI เท่ากับ .95) ตัวแปรในตัวแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลนครได้ร้อยละ 70

 

Organizational Commitment of Officer in Eastern Region City Municipality This research is a study on the commitment of officers in municipalities of the Eastern Region of Thailand.

The research objective is to 1) study levels of the commitment of officers in municipalities of the Eastern Region of Thailand; 2) to study factors affecting the commitment of officers in municipalities of the Eastern Region of Thailand; and 3) to develop a model on the commitment of officers in municipalities of the Eastern Region of Thailand. This study is a quantitative research. Executives were interviewed by using semi-structured interview technique. The samples are 335 officers in Chaoprayasurasak City Municipality, Laemchabang City Municipality, and Rayong City Municipality accounting for 85.89 percent of the total distributed questionnaires. The data collection tool is questionnaire on cultural organization, working motivations, quality of working life, satisfaction in working, and organizational commitment. Data was analyzed by SPSS. Descriptive statistics were generated using SPSS; causal modeling involved in the use of LISREL.

The major results indicats that:

1) Officers in municipalities of the Eastern Region of Thailand have commitment on organization in trust and an acceptance on organizational goals, and commitment on organization in devotion for organizational success are high. Commitment on organization in intention to retain organizational membership is low.

2) Factors affecting commitment on organizations are organizational cultures (TE=.54), satisfaction in working (TE=.31), quality of working life (TE=.22), and working motivations respectively (TE=.21). Each factor influences commitment on organizations at .01.

3) The proposed model is consistent with the empirical data in good fit (χ2/df = 1.31, CFI = .99, RFI = .98, SRMR = .03, RMSEA = .03, GFI = .97 and AGFI = .95). The variables in the proposed model accounted for 70 percent of the total variance of organizational commitment.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ