ความคุ้มค่าทางสังคมของการลงทุนสร้างทางเดินลอยฟ้าในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ความคุ้มค่าทางสังคม, การลงทุนสร้างทางเดินลอยฟ้า, ทางเดินลอยฟ้าในกรุงเทพมหานคร, social return on investment, skywalk investment, skywalk in BangkokAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์และต้นทุนทางสังคมของทางเดินลอยฟ้าในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคมของการลงทุนสร้างทางเดินลอยฟ้าในกรุงเทพมหานคร การศึกษาใช้ทางเดินลอยฟ้าในสยามสแควร์ ทางเดินลอยฟ้าในอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และทางเดินลอยฟ้าในโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นกรณีศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากแหล่งทุติยภูมิและปฐมภูมิในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเดือนเมษายน 2558 ข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ทางเดินลอยฟ้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์ต้นทุนทางสังคมของทางเดินลอยฟ้าการศึกษาใช้ราคาเงา (Shadow Price) ในการปรับมูลค่าตลาดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างให้เป็นมูลค่าทางสังคม และใช้แนวคิด Contingent Valuation Method (VCM) ในการวิเคราะห์ประโยชน์ทางสังคม การศึกษาพบว่า มีผู้ใช้ทางเดินลอยฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเฉลี่ยวันละ 54,012 คน และทางเดินลอยฟ้าสยามสแควร์เฉลี่ยวันละ 24,674 คน ส่วนทางเดินลอยฟ้าโรงพยาบาลรามาธิบดีมีผู้ใช้เฉลี่ยต่อวันเป็นประชาชน 6,538 คน ผู้ใช้รถเข็น (Wheel-Share) 40 คน และบุคลากรของโรงพยาบาล 851 คน ความยินดีที่จะจ่ายเงินของประชาชนในการใช้ทางเดินลอยฟ้า สยาม สแควร์และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเฉลี่ย 15.16 และ 14.05 บาทต่อครั้ง ตามลำดับ ส่วนทางเดินลอยฟ้าโรงพยาบาลรามาธิบดี ประชาชนทั่วไปยินดีจ่าย 10 บาทต่อครั้ง ผู้ใช้รถเข็นยินดีจ่ายเฉลี่ยวันละ 50 บาท และบุคลากรของโรงพยาบาลยินดีจ่ายเฉลี่ยวันละ 233.57 บาท ต้นทุนทางสังคมของการลงทุนสร้างทางเดินลอยฟ้ามีมูลค่า 127.38 ล้านบาท ประโยชน์ทางสังคมของทางเดินลอยฟ้าสยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและโรงพยาบาลรามาธิบดีมีมูลค่า 68.27 166.19 และ 83.10 ล้านบาทตามลำดับ จากการวิเคราะห์โดยใช้อัตรา คิดลดร้อยละ 8 10 และ 12 พบว่า การลงทุน 1 บาทในการสร้างทางเดินลอยฟ้า สังคมจะได้รับประโยชน์ ขั้นต่ำ ในกรณีทางเดินลอยฟ้าสยามสแควร์ 3.97 บาท กรณีทางเดินลอยฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 9.67 บาท และกรณีทางเดินลอยฟ้าโรงพยาบาลรามาธิบดี 4.83 บาท กล่าวคือ มีความคุ้มค่าทางสังคมในการลงทุนสร้างทางเดินลอยฟ้าในพื้นที่ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา
Social Return on Investment of Skywalk in Bangkok
This research aims to study the social cost and benefits as well as analyze social return on investment of skywalk in Bangkok. This research’s case studies are skywalks in Siam Square, Victory Monument and Ramatipbodee hospital. Data used in this study were collected from primary and secondary sources during November 2014 to April 2015. Primary data was collected from an interview with skywalk’s users and stakeholders. To analyze the social cost of skywalk, the study converted the market value of all construction materials used in building the skywalk into social value using their shadow prices. Furthermore, the social benefits were analyzed using Contingent Valuation Method (VCM). The study found that there was an average of 54,012 people using Victory Monument skywalk per day and 24,674 people using Siam Square skywalk per day. In case of Ramatipbodee hospital skywalk there was an average of 6,538 people, 50 wheel-chair users and 851 hospital personnel using skywalk per day. The average willingness to pay of people for using Siam Square and Victory Monument skywalk are 15.16 baht and 14.05 baht per time, respectively. For Ramatipbodee hospital skywalk, people’s willingness to pay for using skywalk is 10 baht per time, for wheel-chair users 50 baht per day, and for hospital personnel 233.57 baht per day. The social cost of skywalk investment is 127.38 million baht. On the other hand, the social benefits of Siam Square, Victory Monument and Ramatipbodee skywalk are 68.27 million baht, 166.19 million baht, and 83.10 million baht, respectively. The analysis, used 8%, 10% and 12% discounting rate, found that for every 1 bath invested in building a skywalk, the society will receive benefits of at least 3.97 baht for Siam Square skywalk, 9.67 baht for Victory Monument skywalk, and 4.83 baht for Ramatipbodee hospital skywalk. In conclusion, there is a social return on investment in building skywalks in these areas that were used as case study.