แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคดีในสถานีตำรวจ

Authors

  • วีระพงษ์ บุญโญภาส ศาสตราจารย์ประจำ และผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอาชญากรรมทางธุรกิจและการฟอกเงิน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุพัตรา แผนวิชิต นักวิจัยและที่ปรึกษาอิสระ ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, ระบบการบริหารจัดการ, สถานีตำรวจ, Approach to develop, Administration system, Police station

Abstract

การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคดีในสถานีตำรวจ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานคดีของสถานีตำรวจ

วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิธีศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร(Documentary Research) การสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล (In-depth Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในระบบโครงสร้างระบบงานสืบสวนสอบสวนและระบบงานคดีของตำรวจในสถานีตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 14 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยกลุ่มเป้าหมายคือบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีประสบการณ์ในระบบโครงสร้างระบบงานสืบสวนสอบสวนและระบบงานคดีของตำรวจในสถานีตำรวจ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 53 คน และใช้วิธีศึกษาวิจัยในเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 1,200 ชุด เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของระบบงานสอบสวน ระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวนและระบบการบริหารงานคดีในสถานีตำรวจ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านระบบงานสอบสวน พบปัญหาการแยกงานสืบสวนและงานสอบสวนออกจากกัน ทำให้การบริหารงานคดีไม่เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง และยังมีปัญหาอื่นอีกหลายประการ ได้แก่ ปัญหาด้านอัตรากำลัง ปัญหาจำนวนพนักงานสอบสวนไม่สมดุลกับปริมาณคดีในสถานีตำรวจ ปัญหาผู้บังคับบัญชาขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนและสอบสวน เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์หรือผ่านงานสอบสวนมาก่อน ปัญหาด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่างๆ มีมากมายและกระจัดกระจาย ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และปัญหาการขาดอุปกรณ์ เครื่องมือและงบประมาณ 2) ด้านระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวน พบว่า การนำระบบ Academic Rank Classification (ARC) มาใช้กับระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจ ก่อให้เกิดสภาพปัญหาและความเสียหายต่อระบบงานสอบสวนและต่อประชาชน และ 3) ด้านกระบวนยุติธรรมชุมชนในระบบงานตำรวจ พบว่า ยังขาดกฎหมายที่รองรับเกี่ยวกับการให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการประนอมและไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

สำหรับข้อเสนอแนะคือ 1) ด้านระบบงานสอบสวน พนักงานสอบสวนควรมีหน้าที่สืบสวนปราบปรามอาชญากรรมด้วย ควรให้พนักงานสอบสวนออกไปสอบสวนยังที่เกิดเหตุเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นในที่เกิดเหตุเพื่อสืบสวนหาร่องรอยหลักฐาน รวมถึงหาพยานหลักฐานเพื่อนำมาประกอบการดำเนินคดีอย่างเป็นระบบ ควรกำหนดจำนวนตำแหน่งพนักงานสอบสวนให้มีความเหมาะสมตามปริมาณงานในแต่ละสถานีตำรวจ ควรกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานสอบสวน และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนให้ประชาชนได้รับทราบ 2) ด้านระบบตำแหน่งของพนักงานสอบสวน ควรปรับตำแหน่งรองผู้กำกับในสถานีตำรวจ ให้เป็นตำแหน่งรองผู้กำกับการประจำสถานีตำรวจ และให้มีการหมุนเวียนกันปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ เพื่อให้มีความชำนาญงานในทุกลักษณะงานของสถานีตำรวจ ควรปรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจจากตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 44 ให้เป็นตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวน สารวัตรสอบสวน และรองผู้กำกับสถานีตำรวจ โดยกำหนดจำนวนตำแหน่งสารวัตร รองสารวัตร ให้ได้สัดส่วน 4 : 1 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดและแก้ไขปัญหากำลังพลแออัด และตำแหน่งพนักงานสอบสวนตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 44 อันได้แก่ ตำแหน่งพนักงานสอบสวนถึงพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ (รองสารวัตร – รองผู้บังคับการ) กำหนดให้เป็นตำแหน่งประจำส่วนราชการสังกัดภูธรจังหวัดและกองบังคับการ และตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ผู้บังคับการ) กำหนดให้เป็นตำแหน่งประจำส่วนราชการสังกัดกองบัญชาการ นอกจากนั้น ควรใช้ระบบ R.C. (Rank Classification) เป็นระบบตำแหน่งในสถานีตำรวจ และในการสอบสวนคดีที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนหรือคดีสำคัญ (Major case) ควรทำงานกันเป็นทีมเพื่อช่วยกันทำการสอบสวน รวมรวบพยานหลักฐานและติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ 3) ด้านกระบวนการยุติธรรมชุมชนในระบบงานตำรวจ เสนอให้ตรากฎหมายรองรับให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนได้ เพื่อลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล และในส่วนการเปรียบเทียบปรับนั้น ควรเพิ่มประเภทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามมาตรา 71 วรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้

 

The Study of An Approach to Develop A Case Administration System in The Police Station

The research objective of the Study of an Approach to Develop a Case Administration System in the Police Station is primarily to improve efficiency of case administration in the police station.

The research methodology employees methods of: qualitative research by collecting data from documents (Documentary Research); In-depth Interview, whereby the key informants are totally 14 qualified authorities, who have experience in the structural system of case administration in the police station; Focus Group, whereby the target group is 53 police officers, scholars and qualified authorities, who are involved and have experience in the structural system of inquiry and case administration of the police station; and quantitative research by collecting data from Field Research from 1,200 sets of questionnaires, which inquire opinions about a proper format of investigation and inquiry works, positioning system and case development system in the police station.

The results of the research find that: 1) with respect to the working system of inquiry, there appears a problem of separation of the investigative work from the inquiry work, resulting in the case administration deviating from the right direction, and there are also many other problems, including: problem of workforce; problem of imbalance between the number of inquiry officials and the number of cases in the police station; problem of the commanding officers lacking knowledge and understanding about the investigation and inquiry operations, because they have low or even no experience in the inquiry work; problems with laws, rules, regulations and orders, which are numerous and scatter, leading to problems with and obstacles to the operation; and problem of the insufficient equipment, apparatus and budget; 2) with respect to the positioning system of inquiry officials, it is found that introduction of the Academic Rank Classification (ARC) system to the positioning system of inquiry officials in the police station results in problematic conditions for and damage to the inquiry operation system and people; and 3) with respect to the judicial process, the police operation system is found to be absent of law for supporting authorization of the inquiry official to compromise and mediate criminal disputes.

The recommendations comprise: 1) with respect to the inquiry operation system, the inquiry official should perform duties of investigation and suppression of crimes as well, the inquiry official should go out on the field, in order to gather preliminary evidence from the scene or inspect the scene for clue, trace and evidence for systematically supporting the prosecution, the number and position of inquiry officials should be allocated to suit the workload of each police station, the position of assistant inquiry official should be designated and the public relation officer should be assigned for publicizing the results of operations of the inquiry official to people in general; 2) with respect to the positioning system of the inquiry official, positions of deputy superintendents in the police station should be adjusted to be positions of deputy superintendents of the police station, which shall be rotated to take turn in performing section of work, in order to gain proficiency in each nature of work of the police station, the position of inquiry official should be adjusted to the position of inquiry official under National Police Act B.E. 2547, Section 44, which shall be inquiry deputy inspector, inquiry inspector and inquiry deputy superintendent of the police station, thereby enrolling number of inquiry deputy inspectors and inquiry inspectors at the 4:1 ratio, in order to avoid bottleneck phenomena and overpopulation of workforces, and the position of inquiry official under National Police Act B.E. 2547, Section 44, which include the inquiry official to the expert inquiry official (deputy inspector – deputy superintendent) are designated as the position of provincial police and and provincial police command, and the position of specialist inquiry official (superintendent) shall report to the provincial police headquarter, moreover, the Rank Classification (RC) system should be used as the system in the police station, and investigation into a complicated or major case should be conducted as a team, in order to collaborate in inquiry, collecting evidence and apprehending the suspect for prosecution and conviction; and 3) with respect to the community justice in the police operation system, it is recommended that a law should be provided for authorizing the inquiry official to compromise and mediate criminal disputes at the inquiry stage, in order to reduce number of cases to the Court, and as to settlement of case by fine, an amendment should be made to the Second Paragraph of Section 71 of the Penal Code, in order to authorize the inquiry official to settle cases by fine.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ