รูปแบบการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต.) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • รัชยา ภักดีจิตต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด

Keywords:

การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, Administration of Subdistrict Administration Organization, Philosophy of Sufficiency Economy

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยภาคสนามและวิจัยเอกสาร โดยกลุ่มประชากรเป้าหมายบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาเรื่องนี้ได้แก่ 1) ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลฝ่ายการเมือง 2) ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลฝ่ายข้าราชการประจำ 3) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 4) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แผน 5) เจ้าหน้าที่การเงิน งบประมาณ ขององค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดสุพรรณบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การศึกษาเอกสาร การสำรวจ การสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบพรรณนา (Descriptive analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) *บทความนี้เรียบเรียงจากรายงานการศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ** ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพการณ์การบริหารงบประมาณ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ยึดหลักเหตุผลในระดับดี กล่าวคือ มีการวางแผนงบประมาณ มีระบบการบริหารงบประมาณที่ถูกต้อง และมีการวางแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์รวมถึงมีการฝึกอบรมและพัฒนา

2. รูปแบบการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้ 1) การบริหารงบประมาณ ควรมีหลักการที่สำคัญ คือการบริหารจัดการข้อมูลด้านงบประมาณให้มีความถูกต้อง ทันสมัย มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ มีการจัดการระบบการตัดสินใจที่ยึดหลักการตรวจสอบถ่วงดุล มีการจัดระบบการควบคุม ติดตาม ประเมินผล และมีหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน 2)การบริหารทรัพยากรมนุษย์ควรมีหลักการที่สำคัญ คือ การวางแผนทรัพยากรบุคคล ควรมีการนำเอาเงื่อนไขความรู้ และความมีเหตุผล มาใช้ในการวางแผนทรัพยากรบุคคล การสรรหาและการคัดเลือก รวมถึงการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และมีระบบการรักษาทรัพยากรบุคคลที่ดี ตามเงื่อนหลักการมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไขคุณธรรม ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรเน้นบทบาทในเรื่องของการวางแผนกลยุทธ์ การจัดการนวัตกรรมท้องถิ่น การตัดสินใจที่ยึดหลักเหตุผลและคุณธรรม

 

The Management Model in Line with Self –Sufficiency Economy: A Case Study of Subdistrict Administration Organization in Supanburi Province

The purposes of this research are: 1) to examine the conditions of management of Subdistrict Administration Organizations (SAOs) in Supanburi Province; and, 2) to improve the format of management of SAOs in Supanburi Province by the use of the Philosophy of Sufficiency Economy.

This is a qualitative research and field research, and documentary analysis. The key populations of informants are SAO’s political administrators, SAO’s official administrators, community developing officials, planning analysis officials, budgeting officials of SAO’s within Supanburi Province. The data collection and content analysis are documentary research, survey and observation. The data analysis applied in this study is and content analysis.

The results of this research are:

1. The organizational administration of SAOs in Supanburi Province has its circumstances of budgeting administration and human resource management based on rational principle rated at a good level. That is there have plans of budget and proper budgeting system. Human resource management has adapted on rational principle also including the budgeting plan, training and personnel development.

2. Format of organizational administration of the SAOs in line with the Philosophy of Sufficiency Economy in Supanburi Province 1) Budgeting Management has its main policies has to be corrected, up-to-date, and frequent reform and has to have a decision-making system that strict on a democratic form , confine on the check and balance controling and evaluating system and has to strict to the people’s participation. 2)Human resource management has its plans should bring conditions of knowledge and reasoning applied into human resource plan, hold on with law processing, based on the condition of knowledge and moral integrity condition. Like wise the training and human resource development should bring condition of precise, accurate, and moral integrity. The model of administer are strategic planning, Innovation management of Local Government and decision making base on rational and moral integrity.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ