ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารอาเซียน

Authors

  • สิรินทิพย์ นรินทร์ศิลป์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ความร่วมมือ, ความมั่นคง, อาหารอาเซียน, Cooperation, Security, ASEAN Food

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารของอาเซียน เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะและเป้าหมายของความร่วมมือ และการวิเคราะห์บทบาทความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศสมาชิกในภูมิภาค โดยอาศัยกรอบแนวคิดความมั่นคงทางอาหาร และแนวคิดภูมิภาคนิยม เป็นแนวคิดในการศึกษา คำถามการวิจัย คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการตระหนักถึงประเด็นความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค และของประเทศสมาชิกหรือไม่ อย่างไร และความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารของอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมหนึ่งทางภูมิภาคสามารถเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศสมาชิกได้หรือไม่ อย่างไร

วิธีการศึกษาที่ใช้ เป็นการศึกษาทางเอกสารเป็นหลัก ได้แก่ เอกสารทางราชการ รายงานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry-AMAF) และรายงานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN Plus Three Ministers of Agriculture and Forestry -AMAF+3) และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ทที่เกี่ยวข้อง

ผลจากการศึกษา พบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักและให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1968 โดยจะเห็นได้จาก การมีความร่วมมือทางด้านอาหารและเกษตรในหลายด้าน รวมทั้ง มีความร่วมมือในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น มิติความเพียงพอทางอาหาร การเข้าถึงทางอาหาร การใช้ประโยชน์ทางอาหาร และเสถียรภาพทางอาหาร แต่ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารที่ได้รับการให้ความสำคัญ ซึ่งมีความร่วมมือมากที่สุด และถูกนำมาปฏิบัติใช้จริงมากที่สุด คือ ความร่วมมือในการเสริมสร้างการเข้าถึงทางอาหารในทางเศรษฐกิจ ผ่านความร่วมมือทางด้านการค้าอาหาร ผ่านการจัดการทางด้านตลาดและราคา ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า อาเซียนอาจพิจารณาว่าปัญหาความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาค คือ ปัญหาการเข้าถึงทางอาหารของประชากร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาการเข้าถึงอาหารในทางเศรษฐกิจ อาจจะเป็นปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่ประชากรส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศสมาชิกในภูมิภาคเผชิญ เนื่องจาก ปัญหาความยากจนและปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชากรที่ยังคงมีอยู่ แต่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของประเทศสมาชิกในภูมิภาค กลับพบว่า อาเซียนประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกผู้ส่งออกอาหาร และกลุ่มประเทศสมาชิก ผู้นำเข้าอาหาร ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า ปัญหาความมั่นคงทางอาหารของประเทศสมาชิกในภูมิภาคมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกผู้นำเข้าอาหาร นอกจากจะเผชิญกับปัญหาการเข้าถึงอาหารใน ทางเศรษฐกิจของประชากรแล้ว ยังต้องเผชิญกับปัญหาความเพียงพอทางด้านอาหารด้วย ซึ่งประเด็นนี้นำไปสู่คำถามว่า ความร่วมมือของการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับภูมิภาคของอาเซียน ที่ให้ความสำคัญเฉพาะการเสริมสร้างการเข้าถึงทางอาหารในทางเศรษฐกิจ และการพึ่งพิงการนำเข้าอาหาร จะมีความเหมาะสมกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารได้อย่างยั่งยืนให้กับประเทศสมาชิกในภูมิภาคหรือไม่ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ

 

ASEAN Food Security Cooperation

This article aims to study and analyze the developmental of ASEAN food security cooperation based on the conceptual framework of Food Security and Regionalism. The research questions are whether, how ASEAN Member States are aware of regional food security and food security in the member countries and whether, how regional cooperation can strengthen food security in the member countries. The method of study is documentary research by collecting data from official documents, ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry (AMAF) reports, and information from various website.

The results show that ASEAN has realized and prioritized the food security cooperation since early 1968 through various food and agricultural cooperations of all dimensions including food availability, food accessibility, food utilization and food stability. Among these, economic food accessibility cooperation or ASEAN food trade has been focused. This might be assumed that ASEAN has perceived that economic food inaccessibility is the most critical problem for people in this region.

Due to differences among ASEAN members in terms of capacity and productivity, food security in ASEAN countries is different or varied. In particular, for those importing countries, they are facing not only food inaccessibility, but also food unavailability. Accordingly, this leads to the question whether ASEAN food security cooperation focusing on economic food accessibility and food import can strengthen sustainable food security in this region.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ