การพัฒนาพื้นที่เกษตรไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศึกษากรณี พื้นที่เกษตรตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Authors

  • จุฑามาศ มีชัย นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การพัฒนาพื้นที่เกษตร, จังหวัดระยอง

Abstract

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งเน้นการสร้างรายได้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตถึงปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับการขาดความร่วมมือของประชาชน อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยประเด็นดังกล่าว บทความวิจัยเรื่องนี้ได้สะท้อนผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาพื้นที่เกษตรไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้กรณีของพื้นที่เกษตรตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่มสำคัญ คือ เจ้าของพื้นที่เกษตร ประชาชนโดยรอบ นักท่องเที่ยว และหน่วยงานภาครัฐ ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาพื้นที่เกษตรให้เป็น หล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลตะพง ยังคงรักษาสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าประชาชนได้เข้ามาร่วมมือน้อย แต่ประเด็นที่เกี่ยวกับอาชีพและแหล่งรายได้ของประชาชนโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ คือ การทำเกษตร ซึ่งทำให้เกิดความตระหนักรู้ในการรักษาสภาพแวดล้อมเดิมเอาไว้ อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบเห็น คือ การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการมากกว่าที่จะเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณนักท่องเที่ยว

 

The Development of Agriculture to Agro-Tourism: A Case Study of Agricultum in Taphong District, Muang, Rayong Province

Agro-tourism is a way to strengthen tourism according to the environmental context of the area. It increases income of local people and promotes natural resource and traditional culture preservation. Interestingly, the obstacles of sustainable development and preservation are from the increasing number of tourists and the deficiency of people’s participation. Hence, the article is the review of findings of the analysis of the development of agriculture to agro-tourism in Taphong sub-district, Muang district, Rayong province. The data are from interview conducted to 4 related parties: agricultural area owners, people living in the surrounding areas, tourists, and governmental sectors. The findings show that natural resources and environment are still in good condition. Anyhow, this is not from the participation of the people but it is because the areas are their sources of income. Therefore, the people realize the importance of the land and the environment automatically. However, there are still problems of waste and sewage disposal which cause by the lack of knowledge rather than the increase of tourists.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ