ระบอบประชาธิปไตยกับผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ

Authors

  • ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ประชาธิปไตย, นโยบายสาธารณะ, Democracy, Policy Making Process

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ นักรัฐศาสตร์โต้แย้งว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ แต่ลักษณะของระบอบประชาธิปไตยนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการขยายตัวของงบประมาณด้านสังคม นักรัฐศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับอิทธิพลของโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ สถาบันทางการเมืองที่เน้นหลักประกันในสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะมักจะนำไปสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจภาครัฐซึ่งหมายถึงการขยายตัวของโครงการด้านสวัสดิการสังคม

 

Democracy and Its Impact on Public Policy - Making Process

This article is aimed to examine the relation between democratic system and policy-making process. Political scientists argue that democracy does not directly affect policy-making process. Nonetheless, the characteristics of democratic regime contribute to growth of budget in social welfare programs. Political scientists are thus likely to emphasize their studies on the influence of democratic institutions on policy-making process. Democratic institutions which guarantee private property rights and popular participation in policy-making process are likely to facilitate the growth of public economy which refers to the expansion of social welfare programs.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ