กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก
Keywords:
การปกครองตนเอง, กลไกและบวนการมีส่วนร่วม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โครงสร้างอำนาจท้องถิ่น, ธุรกิจการเมือง, Self-Government, Participatory Process and Mechanism, Local Government Organization, Local Power Structure, Business PoliticsAbstract
งานวิจัยเรื่อง กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตรทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่นำไปสู่การก่อรูปธุรกิจการเมืองและโครงสร้างอำนาจ ผลลัพธ์ และอุปสรรคในการนำนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในฐานะที่เป็นกลไกและกระบวนการ มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 ไปปฏิบัติตลอดจนถึงข้อเสนอในเชิงนโยบายสาธารณะที่ช่วยสร้างกลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น วิธีวิทยาในการวิจัยนี้ จะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ (Historical Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ภาพรวมเชิงโครงสร้าง (Structural Approach) และวิธีวิทยาแนวกรณีศึกษา (Case Study Approach) ส่วนวิธีการวิจัยจะใช้ 4 วิธีร่วมกันคือ การวิจัยเอกสาร การศึกษาประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก และการเสวนากลุ่ม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีข้อค้นพบดังนี้คือ1. การก่อรูปธุรกิจการเมืองและโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้นเกิดขึ้นภายใต้บริบททางการเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ผ่านกระบวนการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองในอดีต อย่างไรก็ดี การขยายตัวของธุรกิจการเมืองบางแห่งก็ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากการดำรงอยู่ของพลังในการปกครองตนเองของชุมชน
2. ผลลัพธ์ (Result) ที่ได้จากการนำนโยบายกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนท้องถิ่นไปปฏิบัติในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกพบว่า การดำเนินนโยบายกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 ก็ยังไม่สามารถทำให้บรรลุการกระจายอำนาจที่แท้จริงได้ (Decentralization) เนื่องจากการกระจายอำนาจเป็นกระบวนการทางสังคมที่มีบทบาทของกลุ่มและชนชั้นต่างๆ ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น ผลลัพธ์ของกระบวนการกระจายอำนาจในปัจจุบันจึงเป็นเพียงแบ่งอำนาจการปกครอง (Deconcentration) ระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองด้วยกัน
3. การขับเคลื่อนนโยบายกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายการปกครองตนเองของประชาชนท้องถิ่นนั้นพบว่า มีอุปสรรคหลักในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกก็คือ โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นที่มีลักษณะผูกขาดอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำท้องถิ่น โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นที่เป็นอุปสรรคดังกล่าวมี 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นแบบขั้วอำนาจเดียว โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นแบบสองขั้วอำนาจ และโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นแบบสามขั้วอำนาจ โครงสร้างอำนาจท้องถิ่นดังกล่าวเป็นอุปสรรคขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการจัดตั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนให้อยู่ภายใต้เครือข่ายอุปถัมภ์ของชนชั้นนำ นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ตามมาจากการดำรงอยู่ของโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นก็คือ การเกิดภาวะทับซ้อนเชิงผลประโยชน์ในท้องถิ่น (Local Conflict of Interest) และการสร้างความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่น
4. ข้อเสนอในเชิงนโยบายที่ช่วยสร้างกลไกและกระบวนการรูปแบบใหม่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่นนั้นควรมีรูปแบบลักษณะท้องถิ่นบริหารจัดการปกครองตนเอง (Local Self - Goverment) ก็คือ สภาองค์กรชุมชนตำบลในฐานะกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตยจากฐานราก (Grassroot Democracy) การพัฒนาองค์กรประชาสังคมท้องถิ่นควบคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการปฏิรูปการเลือกตั้งให้เป็นกลไกและกระบวนการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการปกครอง
Mechanism and Process of People Participation in Local Self - Government: A Case Study of Local Government Organization in Eastern Seaboard Province
The research on Mechanism and Process of People Participation in Local Self-Government: A Case Study of Local Government Organization in Eastern Seaboard Province Area was aimed to study historical dynamic of Eastern Seaboard Area toward business politics and local power structure formation, results and obstacles to decentralization policy to local government organization as mechanism and process of people participation in local self-government according to constitution 2540 B.E. include. Policy proposals to build up mechanism and process of people participation in local self-government.
This research used historical qualitative research methodology through structural approach and case study approach. Research method was integrated with four methods were that documentary research, oral history, in-depth interview and focus-group discussion. The results according to the objectives were found as follow.
1. The business and local power structure in Eastern Seaboard area were formed by election process as former people participation mechanism in self-government. However the expansion of business politics in some area was limited by existing force of community self-government.
2. The results from decentralization policy implementation to local government organization as mechanism and process of people participation in local self-government were the policy implementation according to constitution 2540 B.E. and 2550 B.E. did not achieved true decentralization because of the policy implementation being social process under power unequal context among groups and classes. Therefor the present results have been only deconcentration among political elites.
3. The main obstacle of the driven decentralization policy in Eastern Seaboard area was that the local power structure monopolized of local elites. The structural obstacles had three types : monopolar local power structure, bipolar local power structure and tripolar local power structure. The structural obstacles hindered people participation through incorporating the participation in elitist patronage network. The subsequent impacts of the structural obstacle were that local conflict of interest and structural justice concerning local resource allocation.
4. The policy proposals to build up new mechanism and process of people participation in local self-government is based on local self-governance principles were that Tambon Organization council toward grassroot democracy , local civil society organization development coupled with local government organization, and election reform as mechanism and process in governmental people participation.