กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดการมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ
คำสำคัญ:
การจัดการ, สิ่งแวดล้อม, เขตควบคุมมลพิษบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษในเขตควบคุมมลพิษโดยศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้มาตรการในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษและเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมีลักษณะการใช้เครื่องมือทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนั้นกำหนดให้มีมาตรการตามกฎกระทรวงออกโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการควบคุมและใช้พื้นที่ และยังมีมาตรการทางแพ่งและทางอาญาลงโทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง นอกจากนั้นยังมีโทษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 99, 100 อีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษเป็นไปตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษซึ่งจัดทำโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นร่วมกับการจัดการของผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เห็นว่ามาตรการตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษนั้นมีเป้าหมายและมุ่งเน้นเพื่อการจัดการด้านงบประมาณในการเสนอเพื่อก่อสร้างโครงการถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นโดยพิจารณาจากแหล่งกำเนิดมลพิษเป็นหลัก เช่น ถ้าสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษแล้วพบว่าเกิดจากการใช้น้ำของชุมชน โรงแรม หรืออพาร์ทเม้นท์ที่รวมกันอยู่จำนวนมากก็จะก่อให้เกิดปัญหามลพิษน้ำเสียจึงมีความจำเป็นต้องสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียรวมดังกรณีบ่อบำบัดน้ำเสียรวมเมืองพัทยา เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นว่าแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า เห็นควรให้ยกร่างกฎหมายจากแผนปฏิบัติการให้เป็นกฎหมายในลักษณะกฎกระทรวงเช่นเดียวกับเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนกฎกระทรวงก็จะได้รับบทลงโทษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 99 และมาตรา 100 โดยมีสาระสำคัญของกฎหมายอย่างน้อยต้องบัญญัติในเรื่องหลักเกณฑ์การประกาศ สิทธิและหน้าที่ของประชาชน การใช้และการควบคุมการใช้พื้นที่ หลักเกณฑ์การยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ และบทกำหนดโทษกรณีผู้ฝ่าฝืน ก็จะทำให้การแก้ไขปัญหามลพิษเป็นรูปธรรมและมีสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
กรมควบคุมมลพิษ. (2547). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2547) เรื่องกำหนดให้ท้องที่เขตตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นเขตควบคุมมลพิษ กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
กรมควบคุมมลพิษ. (2535). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตเมืองพัทยา เป็นเขตควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
กรมควบคุมมลพิษ. (2552). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งตำบลรวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต เป็นเขตควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
ธงเทพ สรรธนสมบัติ. (2559). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางปกครองมาใช้เพื่อส่งเสริมให้ลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่เมืองโบราณศรีมโหสถ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2558. (2558, 15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 219 ง .
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. (2535, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 44.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535, 29 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 37.
วริศรา กิติภูวดล. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศในประเทศไทย : ศึกษาแนวทางการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขหรือกำจัดฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่มีประสิทธิภาพในต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการประเมินผล เพื่อยกเลิกเขตควบคุมมลพิษตามแผนปฏิรูปประเทศ กรมควบคุมมลพิษ. วันที่ค้นข้อมูล 27 สิงหาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/12/pcdnew-2022-12-07_02-31-36_106435.pdf
ศาลปกครองระยอง. (2552). คำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 32/2552. วันที่ค้นข้อมูล 27 สิงหาคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://admincourt.go.th/admincourt/site/ 08news_detail.php?ids=13797
อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ บีเวอร์. (2543). มนุษย์-ระบบนิเวศและสภาพนิเวศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ภาษาอังกฤษ
Correa, C. M. (2021). Intellectual Property Rights, the WTO and Developing Countries: The TRIPS Agreement and Policy Options. London, UK: Zed Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.