การพัฒนากฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
คำสำคัญ:
การทุจริตคอร์รัปชัน, การให้สินบน, ผู้สนับสนุนการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ, เจ้าพนักงานของรัฐร่ำรวยผิดปกติ, อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าพนักงานของรัฐ ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทยที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อนำมาวิเคราะห์และเป็นแนวทางในแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาความรับผิดของผู้ให้ทรัพย์สินแก่คนกลาง กฎหมายได้กำหนดความผิดของคนกลางเรียกรับสินบนไว้ แต่ในกรณีของผู้ให้ทรัพย์สินแก่คนกลางจะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนกับคนกลางในการกระทำผิดนั้นไม่ได้ (2) ปัญหาความรับผิดของผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานผู้ให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ กฎหมายกำหนดความรับผิดไว้เพียงสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนเท่านั้น ซึ่งยังไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริต (3) ปัญหาการกำหนดความรับผิดของเจ้าพนักงานของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กฎหมายไม่ได้กำหนดเป็นฐานความผิดเฉพาะ เพียงแต่ให้ถือว่ากระทำการทุจริตต่อหน้าที่ (4) ปัญหาการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่ในการดักฟังการสื่อสาร หรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
การวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ โดย (1) กำหนดความรับผิดของผู้ให้ทรัพย์สินแก่คนกลาง (2) กำหนดความรับผิดของผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานผู้ให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ ให้รับโทษเช่นเดียวกับตัวการ (3) กำหนดความรับผิดของเจ้าพนักงานของรัฐร่ำรวยผิดปกติ เป็นฐานความผิดเฉพาะ (4) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายในการดักฟังการสื่อสาร หรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
References
ภาษาไทย
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริยะ และณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์. (ม.ป.ป.). อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการทุจริต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2565). กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: กรุงสยามพับลิชชิ่ง.
คณิต ณ นคร. (2559). กฎหมายอาญา ภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ฐากูร จุลินทร. (2558). การแก้ไขปัญหาการทุจริตผ่านบทเรียนของสิงคโปร์. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธีรยุทธ บุญมี. (2533). ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(2), 43.
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). โครงการศึกษาความ เหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป.ป.ช.
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ ต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption – UNCAC). (ออนไลน์). วันที่ค้นข้อมูล 14 สิงหาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://acc.mfa.go.th/th/index
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2558). คู่มือหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.
อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธ์. (2543). ระบบอุปถัมภ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Law of the Republic of Indonesia. (1999). Law Regarding the Eradication of Criminal Acts of Corruption (Law No.31/1999). Retrieved July 7, 2023, from https://faolex.fao.org/docs/pdf/ins202847.pdf
Maslow, A. H. (1980). Theory of Human Motivation. (2nd ed.). New York: Harper and Rows Publisher. The Chief Executive in Council. Prevention of Bribery Ordinance (Cap. 201). Retrieved July 7, 2023, fromhttps://www.elegislation.gov.hk/hk/cap201!en.assist.pdf?FILENAME=Assisted%20Monol ingual%20PDF%20(English).pdf&DOC_TYPE=K&PUBLISHED=true
Transparency International. (2024). Corruption Perception Index 2023. Retrieved February 22, 2024, from https://www.transparency.org/en/cpi/2023/index/tha
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.