กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ศุนงค์นุช ศรีวิพันธ์ -
  • ภูมิ โชคเหมาะ
  • ประทีป ทับอัตตานนท์

คำสำคัญ:

กฎหมายต้นแบบ, การคุ้มครอง, ส่งเสริม, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิการของผู้สูงอายุและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างครบวงจร จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ต่อเนื่องมาถึง การสำรวจในปี พ.ศ. 2564  นับเป็นการสำรวจครั้งที่ 7 ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย ” มานานมากกว่า 10 ปี ที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงเรื่อย ๆ จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ” เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

               จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ยังมิได้บัญญัติถึงการคุ้มครองสวัสดิการของผู้สูงอายุรวมทั้งการดูแล การคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างครบวงจร โดยในการดำเนินการวิจัยประเด็นปัญหา 5 ข้อ ประกอบด้วย 1) ปัญหาการได้รับการคุ้มครองด้านสภาพความเป็นอยู่และรายได้ของผู้สูงอายุจากภาครัฐ 2) ปัญหาการได้รับการคุ้มครองด้านสวัสดิการที่พักอาศัยของผู้สูงอายุจากภาครัฐและเอกชน 3) ปัญหาการได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุตามกฎหมายสาธารณสุขจากภาครัฐและเอกชน 4) ปัญหาการได้รับการคุ้มครองด้านการดูแลผู้สูงอายุจากผู้สืบสันดาน  5) ปัญหาการได้รับการคุ้มครองจากโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้สูงอายุ

               เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นประกอบกับ เป็นการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต การศึกษาและวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการค้นหาคำตอบ นำไปสู่การจัดทำการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับกับการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และกำหนดให้เป็นกฎหมายเฉพาะที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการในการคุ้มครองผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ และได้รับสวัสดิการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ โดยกำหนดเป็นร่าง “กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ”

 

References

ภาษาไทย

กัลยรัตน์ ศรกล้า, วารี กังใจ และ สหัทยา รัตนจรณะ. (2562). ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นของผู้สูงอายุที่อาศัยในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารวิจัยสุขภาพและการ พยาบาล, 32(2), 163-173.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และมาริสา สุวรรณราช, “สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง”. (2562). วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 4.

เฉก ธนะสิริ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. วันที่ค้นข้อมูล 13 มิถุนายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=40101

ประทีป ทับอัตตานนท์.(2562). สิทธิของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580). (2561). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2557). ความต้องการการดูแลในระยะสุดท้ายของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(1). 71-87.

สมยศ เชื้อไทย. (2550). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2567). สถิติจำนวนประชากร. วันที่ค้นข้อมูล 10 กุมภาพันธ์ 2567 เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย: ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(2), 53-56.

ภาษาอังกฤษ

Sudsomboon, S. (2014). Social Welfare for Aging People in Thailand. Journal of Southern Technology, 7(1), 73-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27