รูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษกรัฐบาล สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อารญา สุขหอม -
  • ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, การสื่อสาร, สำนักโฆษกรัฐบาล

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและวิเคราะห์ภารกิจการสื่อสารของสำนักงานโฆษกในต่างประเทศและในประเทศไทย และเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในบริบทที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารสำนักงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร และการบริหารจัดการงานสื่อสาร และผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงานโฆษกรัฐบาล 2) กลุ่มสื่อมวลชนของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ             ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล

               ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานและวิเคราะห์ภารกิจการสื่อสารของสำนักงานโฆษกในต่างประเทศและในประเทศไทย พบว่า ภารกิจการสื่อสารของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับทุกประเทศ สามารถจำแนกภารกิจได้เป็นภารกิจด้านการบริหาร ด้านการข่าว ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการสนับสนุนประสานงาน และด้านการจัดทำกลยุทธ์  สำหรับรูปแบบการจัดการภารกิจการสื่อสารของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในบริบทที่เหมาะสมของประเทศไทย ด้านผู้ส่งสาร (s) ประกอบด้วย ภาพลักษณ์ที่ประทับใจ (I) โครงสร้างที่มีสภาพคล่อง (s) ความคล่องตัว (A) การทำงานร่วมกัน (C)  การประสานงาน (Co) มาตรฐานทางจริยธรรม (E) การแบ่งงานตามความถนัด (D) ระบบความเชี่ยวชาญ (S) ด้านสาร (M) ประกอบด้วย การรับรู้ (A) การสร้างความเข้าใจ (C) ด้านช่องทาง (C) ประกอบด้วยช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน Mass Media (M) การนำใช้เทคโนโลยีมาในงานสื่อสารTech-enabled and Tec-savvy (T) ด้านผู้รับสาร (R) ประกอบด้วย การเข้าถึง Reach (R) ) ความตระหนักในความเป็นพลเมือง Citizen (C)

References

จิตรปิติ ฐิติมนตรี. (2558). การจัดการทางการสื่อสารใน 3 โครงการหลักของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรี ศรีสวัสดิ์เพ็ญ. (2551). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทธิรา ธีรสวัสดิ์. (2562). รูปแบบการจัดการการสื่อสารเพื่อสร้างความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(14), 46-58.

รัชนก เชื้อแพทย์. (2563). รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศิริเพ็ญ วินิจรักษา. (2560). รูปแบบการสื่อสารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาบริษัท A ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศุภกิจ ภาวิไล, ร.ท., รรินทร วสุนันต์ และอาภาวดี นันตรี. (2560). ภาพลักษณ์กระทรวงกลาโหมในทัศนคติของบุคลากรสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(2), 189-199.

Sanders, K., & Canel, M. J. (2013b). Government communication in 15 countries: Themes and challenges. In Sweden. In K. Sanders& M. J.

Canel (Eds.), Government Communication Cases and challenges (pp. 277-312). London: Bloomsbury Academic.

Schramm, W. (Ed.). (1969). Mass communications: A book of readings (2nd ed.). Illinois: University of Illinois Press.

Smith, R. H., & others. (1980). Management: Making organizations perform. New York: Macmillan.

Weber, M. (1966). The theory of social and economic organization. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28