ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือกับกระบวนการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม กรณีชุมชนอิสลาม ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองจังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ, นวัตกรรมชุมชน, มาบตาพุดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทุนที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงวิเคราะห์บทบาทของนวัตกรรมชุมชนในการสร้างกระบวนการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม แนวคิดที่ใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจปรากฏการณ์สังคมนี้ คือ แนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ส่วนวิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือภายใต้บริบทชุมชนอิสลามนั้นเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุน 4 ประเภท คือ (1) ทุนทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยดึงดูดให้ผู้กระทำการที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีปฏิสัมพันธ์เพื่อปกป้องและ
รักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (2) ทุนทางสังคมที่ช่วยโยงใยความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) ทุนทางสัญลักษณ์เป็นทุนที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องเข้าร่วม (4) ทุนทางสิ่งแวดล้อมในฐานะปัจจัยผลักดันให้ผู้กระทำการทุกฝ่ายต้องตระหนักและเห็นถึงความสำคัญที่ต้องแก้ไขปัญหา โดยกลไกประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมีพลังอำนาจและความสามารถในการสร้างกระบวนการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม 4 มิติ คือ (1) เป็นพื้นที่แห่งการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในชุมชนอิสลาม ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครมีอำนาจนำ (2) เป็นเครื่องมือเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและโรงงานอุตสาหกรรม (3) เป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างแท้จริง (4) เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือยังมีจุดอ่อนและข้อจำกัดหลายประการ อาทิ (1) ผู้เข้าร่วมเสวนา (ส่วนของชุมชน) กระจุกตัวเฉพาะเครือข่ายผู้นำชุมชน (2) เกิดขึ้นในชุมชนอิสลามเพียงชุมชนเดียว แต่ชุมชนที่ถูกจัดตั้งในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดมีถึง 38 ชุมชน (3) โครงการพัฒนาที่เป็นผลผลิตของการปรึกษาหารือไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (4) กระบวนการปรึกษาหารือเป็นแบบทวิภาคี (5) การขับเคลื่อนเกิดขึ้นจากสัมพันธภาพส่วนบุคคล
References
ภาษาไทย
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน “The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement”ในบริบทประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1), 123-141.
ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558ก). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรม: ศึกษากรณี การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎี บัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558ข). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรม: ศึกษา กรณีการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 7(2), 223-245.
ชัยณรงค์ เครือนวน. (2560). การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดระยอง: กรณีการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยณรงค์ เครือนวน และพิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2561). ข้อเสนอการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในมุมมองของภาคประชาชน บทสังเคราะห์เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่การ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม. วารสาร เศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 6(1), 40-62.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และชัยณรงค์ เครือนวน. (2549). การจัดทำผังพิสัยการวิจัยระบบสุขภาพกับการพัฒนา อุตสาหกรรมในอนุภาคตะวันออก. ศูนย์จัดการงานวิจัยระบบสุขภาพภาคตะวันออก (ศวรส.อ) มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ ชัยณรงค์ เครือนวน และจิตรา สมบัติรัตนานันท์ (2564). การใช้อำนาจรัฐในการจัดระบบที่ดินของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2549). ฐานทางความคิดของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ. วารสารสถาบัน พระปกเกล้า, 4(3). 77-90.
ภาษาอังกฤษ
Putnam, R. (ed.). (2002). Democracies in Flux: The Evolution of Social Capital in Contemporary Society. Oxford: Oxford University Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.