การร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • สาธิยา สัตยพันธ์ -
  • โชติสา ขาวสนิท
  • วิเชียร ตันศิริคงคล
  • ไพฑูรย์ โพธิสว่าง

คำสำคัญ:

การชุมนุม, การเมือง, นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่อง การร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนและรูปแบบในการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นการใช้วิธีดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 8 คน และเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ มีจำนวน 369 คน

               ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาจะมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต เยาวชนในพื้นที่บางแสน การชุมนุมทางการเมืองส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการตั้งเวทีปราศรัย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มีการกำหนดตารางเวลาของกิจกรรม สถานที่ต้องมีความเหมาะสม มีการวางระบบจัดการกับอุปกรณ์ มีการวางแผนสำรอง และมีการประเมินความเสี่ยงของทีมงานก่อนการจัดการชุมนุมทางการเมืองอยู่เสมอ และผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า สาขาวิชาแตกต่างกัน การร่วมชุมนุมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนเพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมในมหาวิทยาลัย และการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกัน การร่วมชุมนุมทางการเมืองไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่มีผลต่อการร่วมชุมนุมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มี 2 ปัจจัย คือ ด้านความต้องการทางสังคม และด้านความต้องการได้รับเกียรติและการยกย่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งสามารถนำมาเขียนเป็นรูปสมการ ได้ดังนี้ การร่วมชุมนุมทางการเมือง = 0.637 + 0.393 (ด้านความต้องการทางสังคม) + 0.305 (ด้านความต้องการได้รับเกียรติและการยกย่อง)

References

ชยุตม์ พันธุ์สุวรรณ. (2561). ขบวนการนักศึกษาหายไปไหน: การเปลี่ยนแปลงของขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. 2549 - 2557. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชลธิชา แจ้งเร็ว. (2563). คู่มือการจัดการชุมนุมโดยสงบ เพื่อความหวังของพรุ่งนี้. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.amnesty.or.th/files/9416/0040/8427/ptffinal.pdf

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2552). หลักเกณฑ์ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการจัดระเบียบ “การชุมนุมสาธารณะ”. จุลนิติ, 6(4), 169-179.

ประชาไท. (2558, 6 มีนาคม). สรุปบทเรียน 22 พ.ค. 2557 (4): ขบวนนิสิตนักศึกษา. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2015/03/58235

ประชาไท. (2562, 17 มกราคม). หนุนเลือกตั้ง "ไม่เลื่อนเลือกตั้ง" ที่ ม.เชียงใหม่-ศิลปากร-ม.บูรพา-ม.อ.หาดใหญ่. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2019/01/80586

ปูรณิมา. (2563, 24 สิงหาคม). ย้อนรอยม็อบไทย เลือดนองแผ่นดิน สู่จุดเปลี่ยนยุคเทคโนโลยี เฟื่องฟู ระดมมวลชน. ไทยรัฐออนไลน์. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1913672

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การเลือกตั้ง: เลือกผู้นำและผู้แทน. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://ebook.buu.ac.th/index.php?r=book-detail%2Fdownload-file-pdf&bid=101&pid=138

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2561). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ (หลักการ วิธีปฏิบัติ สถิติ และคอมพิวเตอร์). วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://ebook.buu.ac.th/index.php?r=book-detail%2Fdownload-file-pdf&bid=110&pid=246

มนัญชัย รัตนบุรานนท์ และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2564). เหตุผลของการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนักเรียนระดับมัธยมปลาย ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 401-415.

ยรรยง ผิวผ่อง และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2558). การจัดการชุมนุมทางการเมือง. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 4(2), 218-234.

รุ่งนภา พิมมะศรี. (2563, 28 กันยายน). ทบทวนประวัติศาสตร์ อ่านข้อเรียกร้อง “ม็อบนักศึกษา” จากอดีตถึงปัจจุบัน. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-528775

รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์. (2556, 20 กุมภาพันธ์). 21 กุมภาพันธ์ 3 ปี ยุบพรรคอนาคตใหม่ จุดเริ่มต้นชุมนุมทางการเมือง 2563. Thairath Online. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/102808

วิโชติ วัณโณ. (2555). พฤติกรรมการเมืองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สายพิณ ปั้นทอง. (2565). องค์ประกอบความต้องการจำเป็นพื้นฐานที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 14(27), 145-159.

สาวิตรี แนบถนอม. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. (ม.ป.ป.). มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับเสรีภาพในการชุมนุม. วันที่ค้นข้อมูล 7 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://www.amnesty.or.th/our-work/assembly/1669/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28