การศึกษาการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • ภาสินี คุ้มคง -
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, เมืองพัทยา, NEO PATTAYA

บทคัดย่อ

               งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ 1. ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบาย 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้บางออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 319 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรเชิงอนุมาน โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์ใช้สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน กลุ่มที่ 2 เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักบุคลากรในเมืองพัทยา จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ

               ผลการวิจัย 1. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ พบว่า โดยภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. การสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของบุคลากรต่อนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรปัจจัยที่มีต่อนโยบายโดยรวมแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของบุคลากรในการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ มีทิศทางความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน โดยแต่ละปัจจัยมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ ด้านระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ด้านการสนับสนุนของหน่วยงานปฏิบัติ ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่ปฏิบัติ และด้านความเพียงพอของทรัพยากร ส่วนปัจจัยที่มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ และคณะ. (2559). ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. วิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 15(2), 1-16.

กุลธน ธนาพงศธร. (2546). นโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฝ่ายทะเบียนและบัตรประชาชน สำนักปลัดเมืองพัทยา. (2564). ข้อมูลประชากรในเมืองพัทยา (ณ สิงหาคม 2564). วันที่ค้นข้อมูล 16 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก /https://www.pattaya.go.th/wp-content/uploads/2021 -2564.pdf

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ. (2563). แผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565). วันที่ค้นข้อมูล 16 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.pattaya.go.th/document/202563-2565.pdf

สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2560). ความเป็นหุ้นส่วนนโยบายสาธารณะในการบริหารฟื้นฟูคลองสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2562). การประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). Policy and politics in American Governments. Administration & Society, 6(4), 445-488.

Dunn, W. N. (1994). Public Policy Analysis: An Introduction (2th Edition). New Jersey: Prentice

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28