รูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย
คำสำคัญ:
รูปแบบความสำเร็จ, ธุรกิจ, จำหน่ายรถยนต์มือสองบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และหัวหน้า ที่ดำเนินธุรกิจรถยนต์มือสองในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 460 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีสัดส่วน และกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้างในงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจำลองโครงสร้าง (หลังปรับโมเดล) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าไค-สแควร์ ( ) มีค่า 118.94 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 1.00 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( /df) = 0.61 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.97 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.000 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า จากผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร พบว่า ตัวแปรด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายรถยนต์มือสองมากที่สุด
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. (2552). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า,
จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และจุฑาทิพย์ พหลภาคย์. (2562). คุณภาพบริการกับการสร้างความภักดีของลูกค้า:องค์ประกอบในบริบทของธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(1),135-151
จักรวาล วงศ์มณี. (2561). สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเที่ยวไทยและแนวทางการปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2). 66-78.
ณัฐพงษ์ ศรีใจวงศ์ และถนอม คณิตปัญญาเจริญ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ผ่านเต็นท์รถมือสอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, 9(5), 240-251.
เพ็ญพร ปุกหุต. (2563). ความสำเร็จของผลการดำเนินงาน ภายใต้ทรัพยากรโลจิสติกส์ที่มีความโดดเด่นกับความสามารถของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
มนูญ พรหมลักษณ์. (2564). การจัดการด้านการตลาดรถยนต์มือสองเพื่อตอบสนองความต้องการและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 583-595.
วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้า ในตลาดน้ำดอนหวายจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 967-988.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดดันราคารถมือสองไทยปรับขึ้นชั่วคราว...จับตาสตาร์ทอัพแพลตฟอร์มซื้อขายรถมือสองออนไลน์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
สวลี วงศ์ไชยา และ พีชญาดา พื้นผา. (2561). อิทธิพลของกลยุทธ์ธุรกิจและคุณลักษณะของ ผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 139-152.
สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-69.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd Edition). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Sciences.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.