ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัวต่อเดือน สถานภาพสมรสม และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพ ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านวิธีการฝึกอบรม ด้านวิทยากรหรือครูฝึก ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านการประชาสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA เพื่อทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปร โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า ระดับ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจด้านวิทยากรฝึกอบรมมากที่สุด ส่วนด้านอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก ผลการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี ที่มีอายุ สถานภาพสมรส และประสบการณ์ในการฝึกอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรีไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กรมส่งเสริมอาชีพ สำนักงานพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร. (2546). สรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมอาชีพ.
คัมภีร์ พิศดาร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลักสูตรวิชาชีพ วิชาแกะสลักและงานใบตองดอกไม้ กรณีศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, สิริกร กาญจนสุนทร และมาตรินี รักษ์ตานนท์ชัย. (2560). ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพระยะสั้น เทศบาลนครปากเกร็ด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (หน้า 2132 - 2139). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางแสน.
ชาตรี คําเอก และอุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. (2560). ความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือเว็บไซต์ในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบทางด่านสิ่งแวดล้อมของระบบการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีโดยใช้เทคนิคเกษตรแม่นยำสูง.เพชรบุรี: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
ถาวร ภูษา. (2562). รายงานความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นริศรา บุญเที่ยง. (2562). ศึกษาความพร้อมในการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม และความพึงพอใจในการฝึกอบรมที่มีผลต่อ แรงจูงใจในการนำการฝึกอบรมไปพัฒนาในการทำงานของพัฒนาในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในโซนถนน รัชดาภิเษก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล, รุ่งฤทัย รําพึงจิต, วิไล สุทธิจิตรทิวา และชนัญชิดา สุจิตจูล. (2562). การศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ ระยะสั้น. คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์. (2564). ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2564. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.
เมทิกา พ่วงแสง. (2560). ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร
วารุณี ภาชนนท์. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร, มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ศราวนี แดงไสว. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสินเชื่อ ธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.), (2564). โครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ จังหวัดชลบุรี. วันที่ค้นข้อมูล 2 เมษายน 2565, เข้าถึงได้จาก https://abcd-esrith-indoors.hub.argis.com/
โสพิณ ปั้นกาญจนโต. (2550). การศึกษาการดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนบ้านเหล่ากกหุ่งสว่างตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
โสภาคย์ กาแว่น. (2560). ความพึงพอใจของสมัครเข้ารับการอบรมต่อโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งรับรองในจังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อิสรา จุมมาลี. (2562). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาคริสเตียน, 27(2), 31-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.