การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะท้องถิ่น, การบริหารงานท้องถิ่น, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่า t - test และ One - way ANOVA กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการ LSD และทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product moment coefficient of correlation)
ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.44) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนและความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีส่วนร่วมและมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล (ความเป็นพลเมือง) ปัจจัยด้านชุมชน และปัจจัยด้านองค์การ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ( = 0.86, sig. = 0.00)
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า นโยบายสาธารณะท้องถิ่นมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น การบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่นควรคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกระจายอำนาจเพื่อลดการผลิตนโยบายซ้ำที่ท้องถิ่นไม่ต้องการ ในขณะที่ราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง (กระทรวงมหาดไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ต้องมีบทบาทในการสนับสนุนภารกิจขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ปราศจากการบังคับบัญชาหรือสั่งการตามแนวนโยบายที่ไม่มีกฎหมายรองรับเพื่อตอบสนองภารกิจของรัฐ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทเพื่อที่จะสะท้อนปัญหาไปสู่การแก้ไข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องส่งเสริมแนวทางส่งเสริมการบริหารนโยบายสาธารณะท้องถิ่น ได้แก่ การสร้างรูปแบบกลไกการเข้าถึงการบริหารนโยบาย เพิ่มบทบาทหน้าที่ในการร่วมประเมินผลตรวจสอบนโยบายท้องถิ่น และเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ ทางสื่อสารออนไลน์ เพื่อความสะดวกและหลากหลายในติดตามความก้าวหน้าของนโยบายสาธารณะท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
References
ธัญณีย์ ศิระโสภณวัฒน์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประชุมประชาคม ตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบล
หนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พเยาว์ แหล่งสนาม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พัชรี สิโรรส. (2559). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก
http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/ images/rlpd_8/pmqa/form_award/participatory_ government.pptx
วานิช ทองเกตุ และคณะ. (2561). รายงานวิจัย การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น. ยะลา: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา.
วิชชากร ตรึกตรอง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี.
งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิลดา อินฉัตร และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2560). แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมใน ระดับท้องถิ่นของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา,
(2), 41-42.
ศิริกาญจน์ วิชัยศิริ. (2564). แนวทางการมีส่วนร่วมของสตรีในการบริหารองค์การส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายและการบริหารสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากร หวังมหาพร. (2555). นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.
สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสนับสนุนการบริหารงาน องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัด
อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริอร นิยมเดช. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการด าเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2555 บ้านหนองอ้อ หมู่ 3 ตำบลมะขาม อำเภอ
มะขาม จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อติวัส ศิริพันธ์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพ
ของการบริหารจัดการ และนวัตกรรมครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
โอรินนา ชูสงค์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเทศบาลนครอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหาร
จัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.