คุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวน กรณีศึกษาหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, นายทหารประทวน, หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวน กรณีศึกษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ยศ/ ประสบการณ์ทำงาน อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ กรณีศึกษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนายทหารประทวน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 180 นาย ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบทีและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวน กรณีศึกษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีค่าเท่ากับ 3.98โดยปัจจัยลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่อง ระดับการศึกษาและรายได้สามารถอธิบายความแตกต่างของคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2563). วิสัยทัศน์กองบัญชาการกองทัพไทย. วันที่ค้นข้อมูล 29 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.rtarf.mi.th/pdf/mission_vision.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศณี วงศาโสภา. (2562). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
จตุรงค์ บุผาสิงห์. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหารหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
จารุกฤษณ์ เรืองสุวรรณ. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของทหารกองประจำการสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์. วิทยานิพนธรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชัยสิทธิ์ สุวรรณน้อย (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารอากาศกองบิน 21 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นเรศน์ วงศ์สุวรรณ. (2563). กองทัพกับการพัฒนาประเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 29 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.geocities.ws/cgscsos/mil_dev.pdf
บุญแสง ชีระภากร. (2533). การปรับปรุงคุณภาพชีวิตในการทํางาน. จุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 33(1), 5-12.
ผจญ เฉลิมสาร. (2540). คุณภาพชีวิตการทํางานของพนักงานระดับกลาง: ศึกษากรณี. โรงเรียนในนิคมอุตสาหกรรม เวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์สังคมพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, 1-71.
รัตนาภรณ์ บุญมี. (2558). คุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงานเทศบาลตําบลนาดี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change. Minnesota: West Publishing Company.
Walton, R. E. (1973). Quality of Work Life: What is It?. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.
Watson, R. R. (2010). 5-Point Likert Scale. Handbook of Disease Burdens and Quality of Life Measures. New York: Springer.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.