รูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติกโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พันธุ์ธัช โตโพธิ์ไทย
  • ชนิสรา แก้วสวรรค์
  • บรรพต วิรุณราช

คำสำคัญ:

โรงแรมบูติค, วัฒนธรรม, ท้องถิ่น, ทรัพยากร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องรูปแบบการใช้วัสดุท้องถิ่นและการบริการแบบวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวทางการใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมบูติค 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติคโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีการวิจัยเอกสาร โดยการทบทวนวรรณกรรม, งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ผลิตสินค้าชุมชน ผู้ใช้บริการโรงแรมบูติค จำนวน 17 คน โดยเทคนิคเดลฟาย และปิดท้ายด้วยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติคโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ได้ข้อสรุปและรูปแบบที่เหมาะสม สรุปประเด็นการตกแต่งภายในและจำหน่ายของที่ระลึกนั้น ได้แก่ ผ้าขาวม้านำมาตกแต่งในส่วนต่างๆ และประยุกต์เป็นชุดประจำพนักงานหรือชุดใช้งานสำหรับแขกในโรงแรม ประเด็นในด้านปัจจัยทำเลที่ตั้งของโรงแรมบูติกเพื่อให้สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรม โรงแรมบูติคสามารถตั้งในเมืองและนอกเมืองก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าปัจจัยทำเลที่ตั้งขึ้นอยู่กับการนำเสนอ และประเด็นในด้านการจัดการด้านบุคลากรของโรงแรมบูติก ผู้เชี่ยวชาญทุกคนมองว่าคนในท้องถิ่นควรได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโรงแรม จากนั้นทำการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการโรงแรมบูติก โดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ปัจจัยด้านสาเหตุที่ควรมีห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.21) เพราะง่ายต่อการดูแล บริการ และควบคุมภายในโรงแรม ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งโรงแรมบูติกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.22) อยู่นอกเมืองเพื่อหลีกหนี ความวุ่นวาย และได้ความเป็นส่วนตัว ปัจจัยด้านสาเหตุที่ควรนำศิลปวัฒนธรรมมาประกอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.56) เพื่อช่วยต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนและชาวบ้านและปิดท้ายด้วยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมบูติกโดยใช้ทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ได้ข้อสรุปและรูปแบบที่เหมาะสม พบว่าควรนำผลิตภัณฑ์จากชุมชนเข้ามาตกแต่งภายใน และจำหน่ายของที่ระลึก ทำเลที่ตั้งของโรงแรมบูติกสามารถตั้งได้ทั้งสองที่คือในเมืองและนอกเมือง คนในท้องถิ่นควรได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโรงแรม คนในท้องถิ่นเข้าใจวัฒนธรรมที่แท้จริงของพื้นที่ตัวเอง เป็นการสร้างรายได้ ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

References

เกริก บุณยโยธิน. (2562). ผลวิจัยอมาเดอุสและไอเอชจี เผย 3 เทรนด์อนาคตของธุรกิจโรงแรมในไทย. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://propholic.com/prop-now/ผลวิจัยอมาเดอุส และไอเอ

ชยกร ปุตระเศรณี. (2550). กลยุทธ์การจัดการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐชยา ผิวเงิน. (2554). บทบาททุนทางสังคมในการพัฒนาชุมชนบ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พุทธชาด ลุนคำ. (2562). รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายไตรมาส : ธุรกิจโรงแรม ไตรมาส 1/2562. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.isocnet/trendings/view/ 6B40BD51BC58AEA77350396776EEA1C80

สุจินต์ สุขะพงษ์. (2552). แนวทางการจัดการตลาดบริการสำหรับโรงแรมบูติคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษำกลุ่มหนุ่มเจ้าสำอางค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัยจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2541). บนเสนทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

Kleinrichert, D. (2012). Boutique hotels: technology, social media and green practices. Journal of Hospitality and Tourism, 3(3), 211-225.

Isangate. (2017). อีสาน: แหล่งประวัติศาสตร์และอารยธรรม. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.isangate.com/isan/

Marketeer. (2019). 3 เทรนด์อนาคตขับเคลื่อนธุรกิจโรงแรมในไทย. วันที่ค้นข้อมูล 21 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/112494

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02