การพัฒนาการบริหารภาครัฐที่เหมาะสมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
บทคัดย่อ
จากสภาพปัญหาและข้อจำกัดทางโครงสร้างของการพัฒนาการบริหารภาครัฐในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่พบจากการวิจัย พบปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาด้านการบริหารจัดการภาครัฐ และปัญหาเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารภาครัฐที่เหมาะสมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยสามารถแบ่งโครงสร้างที่มุ่งหวังของการพัฒนาบริหารภาครัฐที่เหมาะสม ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารภาครัฐให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพบริบทของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศไป พร้อมกับการยอมรับและการอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ ควรมีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้อำนาจประชาชนในพื้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดูแลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ EEC และไม่ควรรวมศูนย์อำนาจกฎหมายที่คณะกรรมการแบบเบ็ดเสร็จมากเกินไปเพราะทำให้หน่วยงานราชการเชิงพื้นที่ทำงานได้ไม่คล่องตัวแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผิดพลาดไม่รวดเร็ว ลดอำนาจเบ็ดเสร็จตามกฎหมายของคณะกรรมการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้น้อยลง เพิ่มอำนาจกฎหมายโดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ในพื้นที่เพราะรู้ปัญหามากที่สุดและรักษาผลประโยชน์ของจังหวัดทำให้การพัฒนาควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพิงเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน “ลดอำนาจรัฐส่วนกลาง กระจายอำนาจทางกฎหมายให้กับประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกันในฐานะเจ้าของพื้นที่บ้านเกิด รวมถึงการเพิ่มอำนาจทางกฎหมายให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและถ่วงดุลคณะกรรมการบริหารพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพราะมิได้หมายความว่าการบริหารจัดการที่รวดเร็ว ฉับไว จะกระทำการให้ผลประโยชน์ของสาธารณะจะเสียหายอย่างไรก็ได้ ควรต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมี “ประสิทธิภาพต่อการบริหารจัดการ” ควรเป็น “สะดวก เข้าใจง่าย เข้าถึง ฉับไว พร้อมตรวจสอบ” เพราะเมื่อเกิดความเสียหายแล้วกระบวนการเยียวยาอาจไม่ทันท่วงทีหรืออาจไม่คุ้มค่าต่อทรัพยากรที่พื้นที่ต้องเสียหายไป
References
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2547). การวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างความดีมีคุณธรรม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
นพดล วิยาภรณ์ และเอกพร รักความสุข. (2562). การบริหารการพัฒนาโครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษศึกษากรณี : พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 95-109.
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: The Law Group.
สำนักคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
อาภาพร น่วมถนอม. (2562). การบริหารจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน:เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 209-230.
Denzin, N. K. (1978). Triangulation: A Case for Methodological Evaluation and Combination. In Sociological Methods. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.