ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ แน่นหนา
  • ปิยากร หวังมหาพร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, เกษตรตำบล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และระดับความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเกษตรตำบลในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรตำบล หรือ ข้าราชการของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และมีหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า เกษตรตำบลมีคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เกษตรตำบลที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือน แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และยังพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานของเกษตรตำบลมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับสูง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562, 15 กรกฎาคม). ประกาศกรมส่งเสริมการเกษตร เรื่อง รับสมัครสอบ แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ (ทั่วไป) และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ (จังหวัดชายแดนภาคใต้).

ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชชา จามรโชติปรีชา และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2560). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี. วันที่ค้นข้อมูล 18 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.bba.ubru.ac.th/files/researchfiles/attachment-1592388808.pdf

นนทษิต ชุติญาณวัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของสัตวแพทย์สถานพยาบาลสัตว์ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยธิดา วังศพ่าห์. (2560). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กร ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมระดับ 5 ดาวแห่งหนึ่ง ย่านเจริญนคร. ค้นคว้าอิสระธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พูนพงษ์ คูนา. (2561). คุณภาพชีวิตการทํางานและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

เพ็ญภัสสรณ์ พุ่มพฤกษ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทัไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2550). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานกระแสใหม่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: แอร์บอร์นพรินต์.

อนวัช ลิ่มวรากร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐบาล 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน. สารนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรัญญา ออมสินสมบูรณ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารกรมแพทย์ทหารบก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนิวัตติ์ สุวรรณศิลป์. (2559). ผลกระทบของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบโลหะในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อมราพร แย้มขจร. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอกลักษณ์ ชุมภูชัย. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในการดูแลของบริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (แมนพาวเวอร์ สาขาลำพูน). ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

Certs, S.C. (1989). Principles of Modern Management. Boston: Allyn & Bacon.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (2001). Research in Education. A Conceptual Introduction (5thed.).Longman: Boston.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Risla, M. K. F., & Ithrees, A. G. I. M. (2018). The impact of quality of work life on organizational commitment with special reference to department of community based corrections. Global Journal of Management and Business Research, 18(1), 21-29.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science, 22(1), 46–56.

Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 15(1), 11-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-14