ความเหมือนและต่างของ Coworking Space ในมหาวิทยาลัยไทย

ผู้แต่ง

  • ปริยฉัตร สุขเจริญ

คำสำคัญ:

Coworking Space, การทำงานทางไกล (Telework), การทำงานนอกสถานที่ตั้ง

บทคัดย่อ

Coworking Space คือ พื้นที่ทำงานร่วมกัน ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น สามารถเลือกได้ว่าจะทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ กับใคร ซึ่งภาครัฐไทยก็ได้มีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ผ่านการจัดสรรงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยในการจัดพื้นที่ Coworking Space เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเป็นจุดเชื่อมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ประกอบกับภาครัฐหันมาให้ความสำคัญเรื่องการทำงานนอกสถานที่ตั้ง Coworking Space จึงกลายเป็นเครื่องมือในการตอบสนองต่อนโยบายทั้งสองด้านนี้ ซึ่งบทความวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมือนและต่างของ Coworking Space ของมหาวิทยาลัยจำนวน 5 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยแยกออกเป็น 12 มิติ ด้วยกัน คือ ชื่อ เป้าหมาย ทำเลที่ตั้ง พื้นที่และแผนผัง งบประมาณ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ กฎระเบียบ รูปแบบการให้บริการ ผู้มาใช้บริการ ค่าธรรมเนียม เจ้าหน้าที่ประจำ และช่องทางประชาสัมพันธ์ จากผลการศึกษาพบว่าแต่ละพื้นที่มีรูปแบบการบริหารจัดการ รูปแบบการให้บริการ ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละมหาวิทยาลัยกลับมีจุดร่วมใหญ่คือ ต้องการที่จะให้ Coworking Space เป็นพื้นที่กลางในการพบปะของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนสร้างให้เกิดเครือข่ายขึ้นในพื้นที่

References

ทิพวัลย์ เวชชการรัณย์. (2563, 17 กันยายน). ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมอุทยาน วิทยาศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สัมภาษณ์

สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2557). เจาะลึกเทรนด์ Coworking Space ตอนที่ 1: ทำไมฟรีแลนซ์ถึงติดใจห้องทำงานรูปแบบใหม่นี้. วันที่ค้นข้อมูล 12 กันยายน 2563, จาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/ Detail/เจาะลึกเทรนด์-Coworking-Space-ตอนที่-1—ทำไมฟรีแลนซ์ถึงติดใจห้องทำงานรูปแบบ ใหม่นี้

สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี. (2563, 19 มีนาคม). เรื่อง การปรับแนวทางประเมินส่วนราชการและองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และแนวทางการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง. หนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรีที่ นร 0505/ว116.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2560). การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ประจำปี 2560: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

Bouncken, R. B., & Reuschl, A. J. (2018). Coworking-spaces: how a phenomenon of the sharing economy builds a novel trend for the workplace and for entrepreneurship. Review of managerial science, 12(1), 317-334.

Foertsch, C. (2011). Coworking or co-working?. Retrieved October 8, 2020, from https://www.deskmag.com/ en/coworking-tools-tips/coworking-or-co-working-with-hyphen- 252

Foertsch, C. (2019). State of Coworking: Over 2 Million Coworking Space Members Expected. Retrieved October 15, 2020, from https://www.deskmag.com/en/coworking-news/2019-state-of-coworking-spaces-2-million-members-growth-crisis-market-report-survey-study

Gandini, A. (2015). The rise of coworking spaces: A literature review. ephemera: theory & politics in organization, 15(1), 193-205.

Gerdenitsch, C., Scheel, T. E., Andorfer, J., & Korunka, C. (2016). Coworking spaces: A source of social support for independent professionals. Frontiers in psychology, 7, 581.

Josef, B., & Back, A. (2018). Coworking as a new innovation scenario from the perspective of mature organisations. In 6th International OFEL Conference on Governance, Management and Entrepreneurship. New Business Models and Institutional Entrepreneurs: Leading Disruptive Change. (pp. 491-507). April 13th-14th, 2018, Dubrovnik, Croatia Zagreb: Governance Research and Development Centre (CIRU).

Kongcheep, S. (2016). Co-working space in Thailand: An emerging niche market. Retrieved September 1, 2020, from https://www.retalkasia.com/blog/surachet-kongcheep-colliers-bangkok/co-working-space-thailand-emerging-niche-market/bangkok

Merkel, J. (2015). Coworking in the city. ephemera, 15(2), 121-139.

Moriset, B. (2013). Building new places of the creative economy. The rise of coworking spaces. In 2nd Geography of Innovation International Conference 2014. (pp. 1-25). Utrecht University Utrecht (The Netherlands), January 23 – January 25.

Neberg, B. (n.d.). The Start of Coworking (from the Guy that Started It). Retrieved September 8, 2020, from http://codinginparadise.org/ebooks/html/blog/start_of_coworking.html

Revoy, J. (2020). Coworking or Co-working?. Retrieved September 11, 2020, from https://spaceiq.com/blog/coworking-or-co-working/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-14