รูปแบบของผู้นำในองค์กรเพื่อพัฒนาผู้ตามให้มีประสิทธิผลสูง
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้ตาม, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการบริหารและการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเพิ่มผลผลิตและรักษาพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กรได้ในระยะยาว โดยการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถเรียนรู้ได้ดังต่อไปนี้ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) หรือการมีคุณลักษณะพิเศษ (Charisma) ที่มีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารอารมณ์และมีจริยธรรม 2) การสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ (Inspirational motivation) เป็นการสร้างจากแรงจูงใจภายใน เช่นการสร้างที่ก่อให้เกิดทัศนคติในเชิงบวกและการกระตุ้นจิตวิญญาณของทีม (Team Spirit) ให้มีชีวิตชีวา 3) การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation) คือการที่ผู้นำ กระตุ้นผู้ตามให้คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรและหน่วยงาน ทำให้ผู้ตามเกิดความต้องการในการหาแนวทางใหม่มาแก้ปัญหา โดยหาข้อสรุปที่ดีกว่าเดิม เพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่และสร้างสรรค์ 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized consideration ) ผู้นำจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในฐานะเป็นผู้นำในการดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล และทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำจะทำหน้าที่เป็นโค๊ช (Coach) และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) เพื่อการพัฒนาผู้ตาม กล่าวโดยสรุปได้ว่าการเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้จักเสียสละ รับฟังความคิดเห็นของผู้ตาม ตลอดจนการทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้ผู้ตามเชื่อฟังและปฏิบัติงานตามที่ผู้นำสั่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะสามารถทำให้พนักงานสามารถผลิตสินค้าและการบริการ ที่มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำและส่งมอบทันเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ (Bass, 1985 อ้างถึงโดย โสภณ ภูเก้าล้วน, 2555) ผู้ตามสามารถพัฒนาเพื่อขึ้นเป็นผู้นำได้ โดยผู้ตามที่มีประสิทธิภาพสูงจะสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร ควรมีคุณลักษณะดังนี้ 1) สามารถคิดและทำการวางแผนบริหารจัดการตนเองได้โดยมองว่าตนเองมีความสามารถในการจัดการได้เท่าเทียมผู้นำเช่นกัน 2) ทำงานด้วย ความมุ่งมั่นและยึดมั่นเพื่อเป้าหมายสูงสุดขององค์กร หากพบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานก็จะพิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางทำงานหรือขอปรับเปลี่ยนผู้นำ 3) เสริมสร้างความแข็งแกร่งและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้วยการขวนขวายเรียนรู้ฝึกฝนทักษะความชำนาญ มองหางานรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติมด้วยความยินดี และมีความรับผิดชอบต่องานนั้นๆ 4) มีความกล้าแสดงออก เสี่ยงที่จะคิด จะพูด และทำ แม้ว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดได้จาการเสี่ยงนั้น ทำให้ผู้นำและผู้คนในองค์กรมอบความมั่นใจ ไว้วางใจและเชื่อถือ (วรางคณา กาญจนพาที. 2556, หน้า 46) ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามพบว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะรักษาพนักงานคุณภาพให้อยู่กับองค์กรนานๆ นั้นมีปัจจัยเชิงนโยบายที่สามารถผลักดันและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานทุกคนได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเช่นการจัดการระบบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กร การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆตลอดจนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์สู่การพัฒนาผู้นำกับผู้ตามจากองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA (Thailand Quality Award) และองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนไทย และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) โดยการนำตัวแปรสำคัญ ของแต่ละองค์กร มาสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อทำแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในการแปลค่าความหมายต่างๆ และทำการยืนยันผลการวิจัยด้วยการประชุมกลุ่ม (focus Group)
References
แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จันทนา แสนสุข. (2557). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: วารสารสมาคมนักวิจัย.
จิราพร หมวดเพชร.(2558). ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน จังหวัดสงขลา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2548). การบริหารทรัพยากรมนุษย์: เอกสารประกอบการสอน วิชา รศ. 620 = Human resource management. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์.
โสภณ ภูเก้าล้วน. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. วันที่ค้นข้อมูล 23 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/108887
ชุลีพร เพ็ชรศรี. (2557). คุณลักษณะของผู้ตามและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สุทธิปริทัศน์, 28(85),145-160.
ภัทรีย์ จันทรกองกุล. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและประสิทธภาพในการทำงานของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา บริษัท ตลาด ดอท คอม จํากัด. วันที่ค้นข้อมูล 23 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://library1.nida.ac.th/termpaper5/hrd/2550/19242.pdf
ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. (2553). องค์การที่มีสมรรถนะสูงในองค์การภาครัฐ: ตามมุมมองของทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์และ แนวคิดด้านวัฒนธรรม. Journal of Management Sciences, 27(1-2), 33-46.
วรเดช จันทรศร. (2551). การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
วรางคณา กาญจนพาที. (2556). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร: กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สามารถ อัยกร, ประภัสสร ดาวะเศรษฐ, สายป่าน จักษุจินดา และชาญชัย ศุภวิจิตรพันธ. (2560). บทบาทของผู้ตามในคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล. วันที่ค้นข้อมูล 23 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://mis.ptu.ac.th/journal/data/9-1/9-1-23.pdf
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). บริบทกับการเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพและแบบแลกเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: บุ๊คลิ้งค์.
สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หจก. ทีพีเอ็น เพรส.
สุรินทร์ ชุมแก้ว. (2556). วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นําแบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทํางานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารในองค์การเอกชน. กรุงเทพฯ: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สำนักนายกรัฐมนตรี. วันที่ค้นข้อมูล 23 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news. php?nid=7240
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
Kelly, R. E. (1992). The Power of Followership. New York: Doubleday.
Kelly, J. (1998). Rethinking Industrial Relations: Mobilization, Collectivism and Long Waves. London: Routledge.
Kossek, E. E., & Block, R. N. (2002). Managing human resources in the 21'st century: From core concepts to strategic choice. South-Western College Publishing.
Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M. (1982). Employee-Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.