Influence of Competitive Advantage and Entrepreneur Ability Affecting the Performance of Construction Business Operators in Bangkok and Perimeter
Keywords:
Entrepreneur ability, Competitive advantage, PerformanceAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของความสามารถของผู้ประกอบการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลาง ระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการและผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับของความสามารถของผู้ประกอบการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81, 3.81 และ 3.82 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.756, 0.741, และ 0.809 ตามลำดับ และ (2) ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการสู่ผล ต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีค่าขอบเขตล่างเท่ากับ 0.349 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.602 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถของผู้ประกอบการจะเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและสามารถส่งผลต่อผลการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
References
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลคั่นกลางของทุนโครงสร้างและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนเชิงความสัมพันธ์สู่ผลิตภาพสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 41-53.
พีรญา กัณฑบุตร. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก : SMEs. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 2(1), 59-76.
บุญฑวรรณ วิงวอน และชุติมันต์ สะสอง. (2558). แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53. (หน้า 476-483). วันที่ 3-6 ก.พ. 2558 กรุงเทพมหานคร.
อัจฉรา เมฆสุวรรณ และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานทางการเงินตามมุมมองของผู้ประกอบการตลาดนัดจังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น, 11(3), 147-160.
นัทธมน อิ่มสมบัติ. (2561). การจัดการเครือข่ายของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุลชญา แว่นแก้ว. (2559). ศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารต้นทุนที่เหมาะสมที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตการค้าชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 46-64.
พรทิพย์ บุญทรง, ประชา ตันเสนีย์ และนงลักษณ์ ลัคนทินากร. (2559). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ตลาดน้ำลำพญา จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความสามารถทางการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป OTOP จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.
ธกรศักดิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Guilford, J. P. (1954). Psychometric Methods. New York: McGraw-Hill.
Gurhan, V., Page, K. L., & Gürhan-Canli, Z. (2007). “My” brand or “our” brand: The effects of brand relationship dimensions and self-construal on brand evaluations. Journal of consumer research, 34(2), 248-259.
Nimsith, S. I., Rifas, A. H., & Cader, M. J. A. (2016). Impact of core competency on competitive advantage of banking firms in Sri Lanka. International Journal of Scientific Research and Innovative Technology, 3(7), 64-72.
Sabah, S., Alrubaiee, L., & Jamhour, M. (2012). Effect of core competence on competitive advantage and organizational performance. International Journal of Business and management, 7(1), 192.
Anwar, K., Ali, I., Ghani, A., Khan, N., Alsaqer, M., Rahma, A. U., & Mahmood, H. (2018). Routing Protocols for Underwater Wireless Sensor Networks: Taxonomy, Research Challenges. Routing Strategies and Future Direction. Sensor Journal, 18(5), 1619.
Sadia M., (2011). The Impact of Competitive Advantage on Organizational Performance. European Journal of Business and Management, 3(4), 191-196.
Martinez, A., Galvan, D., & Palacios, J., (2016). Differentiation for Competitive Advantage in a Small Business. International Journal of Operation and Production Management, 9(1), 46-64.
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.