การบริโภคอาหารนอกบ้าน: กรณีศึกษา Gen Y ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รำจวน เบญจศิริ

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหาร, อาหารนอกบ้าน, เจเนอร์เรชั่นวาย (Gen Y), กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านและศึกษาตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการบริโภคอาหารนอกบ้านของ Gen Y (Generation Y) ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ใน การวิเคราะห์ได้จากการสำรวจ Gen Y ในกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา การบริโภคอาหารนอกบ้านของ Gen Y ประกอบด้วยการใช้เวลานอกบ้าน พฤติกรรมการรับประทานอาหารของครอบครัว สื่อออนไลน์ รายได้และจำนวนมื้ออาหารต่อวัน ผลการศึกษาพบว่า Gen Y ในกรุงเทพมหานครการรับประทานอาหารนอกบ้านวันละ2.64 มื้อ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยมื้อละ 226.83 บาท ส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้านคนเดียว (ร้อยละ 46.2) รองลงมาคือรับประทานอาหารนอกบ้านกับแฟน (ร้อยละ 20.4) เพื่อน (ร้อยละ19.3) ครอบครัว (ร้อยละ 11.8) และ คู่สมรส (ร้อยละ 2) อาหารนอกบ้านส่วนใหญ่ซื้อมาจากร้านอาหารริมทาง (ร้อยละ 52.8) รองลงมาคือร้านอาหารทั่วไป (ร้อยละ 17.2) ร้านสะดวกซื้อ (ร้อยละ 9.5) และห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 9.3) ตามลำดับ อาหารนอกบ้านของ Gen Y ส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทข้าวหรืออาหารที่ต้องรับประทานร่วมกับข้าว Gen Y ที่ศึกษามีความเห็นว่าการรับประทานอาหารนอกบ้านมีสาเหตุมาจากสื่อออนไลน์มากที่สุดรองลงมาเป็นความเร่งรีบของสังคมเมือง ค่าใช้จ่ายในการทำอาหารกินเองมากกว่าซื้ออาหารมารับประทาน คนหนาแน่น รถติด และการมีบริการรับส่งอาหารตามสั่งตามลำดับ ตัวแปรด้านการใช้เวลานอกบ้าน พฤติกรรมการรับประทานอาหารของครอบครัว สื่อออนไลน์ รายได้ และจำนวนมื้ออาหารต่อวัน มีผลต่อการบริโภคอาหารนอกบ้านของ Gen Y ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรดังกล่าวมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารนอกบ้านของ Gen Y ในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 81.6 ในการเปรียบเทียบผลที่มีต่อการบริโภคอาหารของ Gen Y ในกรุงเทพมหานคร ตัวแปรเวลาในการทำงานนอกบ้าน มีผลต่อการบริโภคอาหารนอกบ้านของ Gen Y ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด (Beta = 0.51) รองลงมาคือ พฤติกรรมในการรับประทานอาหารนอกบ้านของครอบครัว (Beta = 0.375) สื่อออนไลน์ (Beta = 0.128) จำนวนมื้ออาหารต่อวัน (Beta = 0.068) และรายได้ของ Gen Y (Beta = 0.065) ตามลำดับ

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). Gen Y/ Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. วันที่ค้นข้อมูล 6 ธันวาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251

Greedisgoods. (2561). Gen Y คืออะไร ? และพฤติกรรม Generation Y. วันที่ค้นข้อมูล 8 มิถุนายน 2562, เข้าถึงได้จาก https://greedisgoods.com/gen-y-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-generation-y/ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง (1). วันที่ค้นข้อมูล 30 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.thansettakij.com/content/234315

BLT Bangkok. (2561). เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. วันที่ค้นข้อมูล 15 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.bltbangkok.com/article/info/28/774

BIZ & MARKETING NEWS. (2561). คนไทย Enjoy Eating 7 มื้อต่อวัน! “ค่าอาหาร” ค่าใช้จ่ายอันดับ 1 ของคนไทย ทะลุ 1.8 ล้านล้านบาท. วันที่ค้นข้อมูล 29 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.marketingoops.com/news/biznews/thai-consumer-spending-on-food/

Euromonitor. (2562). พฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทย. วันที่ค้นข้อมูล 29 กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www. marketingoops.com/news/biz-news/thai-consumer-spending-on-food/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยปี 2561. วันที่ค้นข้อมูล 10 มิถุนายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Lists/Infographic/Attachments/70/infographic_SES2561.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). วันที่ค้นข้อมูล 30 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

Becker, G. S. (1965). A Theory of the Allocation of Time. The Economic Journal. 75, 493-517.

Bloemer, J., & Ruyter, K. D. (1998). On the Relationship between Store Image, Store Satisfaction and Store Loyalty. European Journal of Marketing, 32(5/6), 499-513.

Byrne, P., Capps, O. Jr., & Saha, A. (1998). Analysis of Quick-serve, Mid-scale, and Up-scale Food Away from Home Expenditures. The International Food and Agribusiness Management Review, 1, 51-72.

Cohen, N. (2016). Urban Food Policy: A Strategies for Sustainable Food Systems. Retrieved on June 19, 2019, from https://urbanfoodpolicy.com/2016/07/08/usda-charts-the-growth-of-food-away-from-home/

Economics Online. (2020). Consumer Demand. Retrieved June 29, 2019, from https://www.economicsonline.co.uk/Competitive_markets/Consumer_demand.html

Grewal, D., & Levy, M. (2008). Consumer Behaviour. In Marketing, (pp. 139-141). New York: McGraw Hill.

Hawkins, D. I., Best, R. J., & Coney, K. A. (2004). Consumer Behavior – Building Marketing Strategy. (9th ed.). New York: McGraw-Hill.

Hinkle, D. E, William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Juyal. (2012). Study on the Factors Affecting Customer Purchase Activity in Retail Stores by Confirmatory Factor Analysis. Espacios, 38(61), 30.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2006). Consumer Behaviour. In Principles of Marketing (11th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Küster,. I., et al. (2016). Retrieved on July, 20 2019, from https://www.researchgate.net/publication/ 303635034_How_does_the_online_service_level_influence_consumers'_purchase_intentions_ before_a_transaction_A_formative_approach

McCracken, V., & Brandt, J. (1987). Household Consumption of Food Away from Home: Total

Expenditure and by Type of Food Facility. American Journal of Agricultural Economics, 69, 274-284.

Moreno, M. F., el. (2017). The Characterization of the Millennials and Their Buying Behavior. International Journal of Marketing Studies, 9(5), 135-144.

Perterson, A. R. (1994). A Meta-Analysis of Cronbach's Coefficient Alpha. Journal of Consumer Research. 21(2), 381-391.

Revista ESPACIOS. (2017). Study on the factors affecting customer purchase activity in retail stores by confirmatory factor analysis. Retrieved July 15, 2019, from https://www.revistaespacios.com/a17v38n61/a17v38n61p30.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25