การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชนัญธิดา สุวรรณศรี
  • ปิยากร หวังมหาพร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การมีส่วนร่วม, กระบวนการจัดทำแผน

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมของประชาชนคือ เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เริ่มตั้งแต่การรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจ และตรวจสอบ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่ายร่วมกัน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยแรงจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้วิธีศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 400 คน ด้วยการวิเคราะห์แบบสถิติพรรณนา ประกอบการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน รวม 24 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความสำคัญสูงสุด ในประเด็นการดำเนินโครงการสำเร็จแล้วส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนปัจจัยที่ประชาชนให้ความสำคัญต่ำสุดคือ ด้านการประเมินผล ประชาชนเข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและผู้นำชุมชน ส่วนปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน แยกเป็นปัจจัยภายใน ให้ความคิดเห็นสูงสุดคือ ด้านความสำเร็จในการเข้าไปมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญการประชาสัมพันธ์ของการดำเนินงานโครงการฯ ให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบและเข้าใจ และประชาชนให้ความคิดเห็นต่ำสุดคือ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ อบต. รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ส่งผลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่วนปัจจัยภายนอก ปัจจัยด้านความดึงดูดใจในสังคม ให้ความคิดเห็นสูงสุด อบต. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการบริการและให้สวัสดิการช่วยเหลือทั่วถึง และปัจจัยด้านโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในงาน ให้ความคิดเห็นต่ำสุด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น เมื่อนำปัจจัยส่วนบุคคลมาเปรียบเทียบกับการมีส่วนร่วมพบว่า อายุ ศาสนา และการศึกษาต่างกัน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ส่วนเพศ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการอาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่างกัน ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบตามช่องทางต่างๆ และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้โปร่งใส และนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร,

ทัดดาว บุญปาล. (2530). ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนในเขตพื้นที่ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัชเชษฐ์ นิยมสุข. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลในเขตปริมณฑลของกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ธรณินทร์ คุณแขวน. (2555). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สนธยา เดชรัตนวิไชย. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบณัฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมยศ นาวีการ. (2546). ทฤษฎีองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า

สุนันทา เลาหนันทน์. (2531). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งพัฒนา.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). แผนพัฒนาประจำปี องค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ม.ป.ท.

ศิริชัย เพชรรักษ์. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(2).

ศักดิ์ชัย ดีละม้าย. (2558). ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางแก้ไข. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2). 35.

องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี. (2557). แผนพัฒนาประจำปีองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี.

Barnard, C. I. (1974). The Functions of the Executive (30thAnniversaryed). Cambridge, MA: Harvard University.

Bertrand, R. (1958). Understanding history and other essays. New York: Philosophical Library.

Berelson, B., & Gary, A. S. (1964). Human Behavior: Shorter Edition. New York: Harcourt, Brace & World.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design. New York: McGraw-Hall.

Reeder, W. W. (1974). Some Aspects of The Information Social Participation of Farm Families in New York State. New York: Unpublished Ph.D. Dissertation, Cornell University.

Likert, R. (1981). Management Styles and The Human Component in Leadership on the Job: Guides to Good Supervision. New York: AMACOM.

Herzberg, F. et al. (1959). The motivation to work. New York: McGraw-Hill Book.

Thompson, S. K. (1990). Adaptive Cluster Sampling. Boston, MA: The American Statistical Association.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25