กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ ปัญเศษ
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
  • ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, เสริมสร้างสมรรถนะ, โรงเรียนสองภาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ์ของการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นเลิศ 2) วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของสมรรถนะผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) พัฒนาและรับรองกลยุทธ์ การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นเลิศ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยอนาคตภาพ การวิเคราะห์ SWOT Analysis และการวิเคราะห์ TOWS MATRIX Analysis และจัดทำ (ร่าง) กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และการพัฒนากลยุทธ์ฯ ด้วยการจัดระดมความคิดเห็น (Focus Group) จากผลการศึกษาพบว่า มี 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 กลยุทธ์ 11 โครงการ และ 33 กิจกรรม ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ เสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงผู้เรียนสู่คุณภาพสากล มี 1 โครงการ 4 กิจกรรม กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 4 โครงการ 14 กิจกรรม กลยุทธ์ที่ 3 สร้างความร่วมมือและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา มี 2 โครงการ 6 กิจกรรม และกลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี และการเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนของผู้เรียน มี 4 โครงการ 9 กิจกรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการศึกษา, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภิรักษ์สิทธิ์ เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2560). แนวทางการบริหารโรงเรียนสามภาษาในจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings). (หน้า 237-239).การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1379 - 1395.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25