การจัดการความมั่นคงด้านสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, สุขภาวะ, การจัดบริการสาธารณะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ 2) ศึกษาการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 3) ศึกษาสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ฯ กับกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ 5) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ออกแบบวิจัยเชิงผสม ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 347 คน จากประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ส่วนเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ F – Test และ Pearson – r ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยให้บริการแบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 614 คน ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด การที่ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุจำนวนไม่มากนักสาเหตุเนื่องจากกิจกรรมที่จัดให้ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งมีปัจจัยส่วนบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ เช่น สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่าย และการเดินทาง นอกจากนั้น เทศบาลยังมีการให้บริการให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ผ่านโครงการประจำต่างๆ ซึ่งเป็นบริการแบบไม่มีส่วนร่วม และพบว่าการให้บริการแบบมีส่วนร่วมส่งผลดีต่อสุขภาวะมากกว่าแบบไม่มีส่วนร่วม 2) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความเห็นว่าเทศบาลมีการจัดการ ฯ อยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุเห็นว่าการจัดการยังมีอุปสรรคปัญหาของการเข้าถึงและการใช้บริการอยู่บ้าง 3) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับดี ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าผู้เป็นสมาชิกชมรมมีสุขภาพดีกว่าผู้ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญ 4) การจัดการ ฯ สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างสูงในทิศทางบวก 5) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะต่อเทศบาลว่าควร a) ให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นวางแผนซึ่งจะทำให้ได้กิจกรรมตรงความต้องการผู้ใช้บริการเพื่อจะได้จูงใจให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม ฯ มากขึ้น b) มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง c) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ d) นำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมาให้บริการ โดยมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ e) การอำนายความสะดวกในด้านการเดินทางของผู้สูงอายุ
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2554). สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กิตติมาพร โลกาวิทย์. (2556). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5, 194-211.
จิรัชยา เคล้าดี และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1).
เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2553). ความพึงพอใจของผู้รับบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง. วันที่ค้นข้อมูล 24 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/8hnqimn7q58g04s.pdf 12/04/59
ทัศนีย์ สุวดิษฐ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเบี้ยยังชีพ ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พรทิพย์ สุขอดิศัย, จันทร์ชลี มาพุทธ และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2557). วิถีชีวิตและแนวทางการมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 90 – 102.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). บทความผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. (2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม. วารสารพยาบาล ทหารบก, 15(3), 353-360.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สุขภาวะ 4 ด้าน (มิติ). สุขภาพดีต้องดูแลอย่างจริงจัง. วันที่ค้นข้อมูล 21 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.zoneplus.net
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 21-36.
อรทัย ฤทธิโรจน์. (2554). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Denhardt, R. B. Denhardt, V. J. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.
Fayol, H. (1923). Industrial and General Administration. New Jerser: Clifton.
Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Connecticus: Appleton & Lange United Nations.
World Health Organization. (1998). Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.