กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อ ทำคุณประโยชน์แก่สังคมของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์นรี ศรีสมบูรณ์
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

คำสำคัญ:

กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อทำคุณประโยชน์แก่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวการณ์ผู้สูงอายุไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันส่งผลต่องบประมาณของภาครัฐที่ต้องนำมาใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อทำจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ อันเป็นภารกิจที่รัฐพึงกระทำ ซึ่งปัญหาจำนวนผู้สูงอายุมีมากขึ้นในต่างประเทศเช่นเดียวกับไทย แต่ต่างประเทศได้นำรูปแบบการสะสมเวลาในธนาคารเวลาของผู้สูงอายุ ภายใต้หลักการ “ผู้สูงวัยช่วยเหลือผู้สูงวัยด้วยกันเอง” มาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดสวัสดิการเพื่อบรรเทาภาระงบประมาณในการจัดสวัสดิการของทางภาครัฐ ซึ่งการนำรูปแบบการสะสมเวลาดังกล่าวมาใช้ในไทยนั้นมีความจำเป็นต้องนำรูปแบบการสะสมเวลาของต่างประเทศมาเปรียบกับการจัดสวัสดิการของไทย และปรับรูปแบบการสะสมเวลาให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยเพื่อนำมาเป็นโครงสร้างของกฎหมายต้นแบบเพื่อรองรับการสะสมเวลาให้เป็นรูปธรรม และมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยใช้วิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทย และประชากรในสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ การมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบของประชากรกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และนำผลการร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบ มาวิเคราะห์กับการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาจัดทำเป็นร่างกฎหมายต้นแบบและนำมาซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า การสะสมเวลาที่จะนำมาเป็นรูปแบบในการกฎหมายต้นแบบเพื่อรองรับการสะสมเวลานั้นมีองค์ประกอบของกฎหมาย คือ องค์กรที่รับผิดชอบและบริหารจัดการการสะสมเวลา คุณสมบัติของสมาชิกในธนาคารเวลา รูปแบบ กระบวนการสะสมเวลา สิทธิประโยชน์ที่ได้จากการสะสมเวลา มาตรการส่งเสริมและความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการสะสมเวลา ซึ่งเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 โดยมีลำดับศักดิ์กฎหมายชั้นพระราชบัญญัตินั้นเนื่องมาจากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งร่างกฎหมายนี้ประกอบด้วยบทบัญญัติจำนวน 36 มาตรา แบ่งออกเป็น 1 หมวด 15 ส่วน 1 บทเฉพาะกาล อันเป็นกฎหมายที่สามารถรองรับรูปแบบการสะสมเวลา และมีการดำเนินการสะสมเวลาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อการจัดสวัสดิการเพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดของผู้สูงอายุ ซึ่งในงานวิจัยนี้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่ออำนวยความสะดวกและชัดเจนในร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว หากแต่มีข้อเสนอแนะงานวิจัยว่าควรมีการหามาตรการของทางรัฐในการทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย และผู้สูงอายุในฐานะผู้มีส่วนได้เสียในการเป็นสมาชิกธนาคารเวลาเนื่องจากรูปแบบการสะสมเวลานี้เป็นรูปแบบใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย อีกทั้งการดูแลผู้สูงอายุเป็นงานละเอียดอ่อนจำต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539. (2539, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 42 ก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2545, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.

พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ .ศ. 2494. (2494, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 68 ตอนที่ 24.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. (2533, 1 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 161 ก.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546. (2546, 1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 94 ก. หน้า 6.

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (2561). วันที่ค้นข้อมูล 19 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

ศรีทับทิม พานิชพันธ์ .(2538). สิทธิและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยและนานาชาติ.กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษารูปแบบการให้บริการ การบริหารและการจัดการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ. วันที่ค้นข้อมูล 19 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1512636145-109 pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-01