แนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ หงษ์โต
  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์

คำสำคัญ:

เกณฑ์การประเมิน, การจัดการคุณภาพมาตรฐาน, ค่ายมวยไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทยและพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research : EDFR) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฏี และการสังเคราะห์เอกสาร จากนั้นนำประเด็นที่ได้สร้างเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เรื่ององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในการนำมาเป็นเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในประเด็นแนวทางการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพมาตรฐานของค่ายมวยไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย (FS2PHE) ได้แก่ 1) ด้านการจัดการทางการเงิน มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ การวางแผนทางการเงินของค่ายมวย และการจัดการผลประโยชน์ของนักมวย 2)ด้านสถานที่อุปกรณ์และสิ่งอำนวย ความสะดวก มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ ลักษณะอาการและการสุขาภิบาล อุปกรณ์เฉพาะค่ายมวยและอุปกรณ์เสริม 3) ด้านความสามารถเชิงกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ การจัดทำ กลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ 4) ด้านการบริการมี 2 องค์ประกอบย่อย คือ บริการหลักสูตร และการให้บริการ 5)ด้านบุคลากรประจำค่ายมวยไทยมี 2 องค์ประกอบย่อย คือหัวหน้าค่าย/ผู้จัดการค่ายมวย และผู้ฝึกสอน/ ครูมวย 6)ด้านคุณธรรมจริยธรรม มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ ระดับค่ายมวยและระดับบุคคล 7) ด้านการยศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบย่อยคือความพร้อมมาตรการฉุกเฉิน และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559). วันที่ค้น ข้อมูล 6 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/Notification Of TheNationalTourismPolicy.PDF

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2558). การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) วันที่ค้นข้อมูล 27 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.nesdb.go.th

เตชิตา ไชยอ่อน และธีรวัฒน์ จันทึก. (2015). ความคาดหวังของลูกค้าชาวต่างชาติที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพละศึกษา, 7(3).

ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล และคมกริช เชาว์พานิช. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทยสำหรับชาวต่างชาติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ธัญลักษณ์ หงษ์โต และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). เรื่องเล่าบนเส้นทางสังเวียนตัวตนคนชี้ขาด : กรณีศึกษากรรมการผู้ตัดสินกีฬามวยไทยอาชีพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 43(2), 113- 124.

ธัญลักษณ์ หงษ์โต และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน ที่มีผลต่อความไว้วางใจในการบริหาร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 39- 53.

ธัญญ์ธวัล เหมทานนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2016). เรื่องเล่าของผู้ประกอบการค่ายมวยไทย ในตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559.

ธีระวัฒน์ จันทึก และเสรี ชัดแช้ม. (2557). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(1), 99-129.

ธีรวุฒิ ชูภักดี และวัฒนา ทรงนิสัย. (2560). ปัจจัยที่ใช้เพิ่มความปลอดภัยในงานก่อสร้างไฟฟ้าสายสีแดงเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2. เรื่องนวัตกรรมอาคาร 2560 : อาคารอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ณ อาคารสิรินธร ชั้น 5. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

แปลก พนาลิกุล .(2537). พลศึกษา PE101 มวยไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2554). นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองข้าม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 15(29).

พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.วิทยานิพนธ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. วันที่ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000009790

พัชรินทร์ ยาพิมาย. (2542). สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของนักมวยไทย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง. (2522). พัฒนาการกีฬามวยไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพาพร โคตรทอง. (2554). แรงจูงใจในการเล่นกีฬามวยไทยของนักกีฬาสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

รัชนก มณีรัตน์. (2550). ทัศนะของนักท่องเที่ยวต่อการบบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวงและให้บริการ ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

รายาศิต เต็งกูสุลัยมาน, วรรณา พิทักษ์ศานต์ และกานตินุช สถิรมนัส. (2554). ทิศทางการพัฒนาสถาบันการพลศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นในทศวรรษหน้าวารสารไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการ พลศึกษา, 7(2), 151-163.

วาสนา ศรีอัครลาภ และจิราวรรณ คงคล้าย. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การแห่งยุคสารสนเทศ สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต. Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2).

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วิจิตรบุษบา มารมย์. (2545). การบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร : การจัดการพื้นที่/ สถานที่สำหรับสภาพแวดล้อมในอนาคต. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1, 231-233.

วินัย พูลศรี. (2555). มวยไทย : การจัดการมรดกภูมิปัญญาของชาติไทยสู่รูปแบบธุรกิจสากล. ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิสุทธิ์ ทิพยพงษ์. (2544). การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนากีฬามวยไทยเพื่อการอาชีพ. วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ สังข์อ่อง. (2555). สุดยอดธุรกิจมวยไทยบนโลกออนไลน์. กรุงเทพฯ: บริษัททัฟฟ์ จำกัด.

ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการแข่งขันมวยไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558-2567). บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการกีฬา, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สนอง คูณมี. (2549). แรงจูงใจในการเป็นนักมวยไทยอาชีพของนักมวยไทยในเวทีมาตรฐาน. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2542). พระราชบัญญัติกีฬามวย 2542. วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.officemuay.or.th/content.aspx? section=rpolicy&inforid=37

สัญญา รัตนไพวงศ์ และธัญลักษณ์ หงษ์โต. (2560). เรียนรู้ตัวตน คนสังเวียน ผ่านทางเลือกแห่งทางรอด. วารสารกรมพลศึกษา, 12(5).

สารานุกรมไทย. (2561). ประโยชน์ของการยศาสตร์. สำหรับเยาวชนไทย โดยพระประราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เล่มที่ 32 เรื่องที่ 7. วันที่ค้นข้อมูล 4 มีนาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=7&page=t32-7-infodetail03.html

สุภัทรา อินทร์คำ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : เปรียบเทียบระหว่างวี ฟิตเนส โซไซตี้ และฟิตเนส เฟิรส์ท. หลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

อนุวัฒน์ ถืออยู่. (2554). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพค่ายมวยไทยในประเทศไทย. ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคม มากมีทรัพย์. (2557). จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(87).

อารีย์ นัยพินิจ, ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา SKRU ACADEMIC JOURNAL, 7(1), 1-12.

อาภาศิริ โกฏิสิงห์, เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ และคำนึง ทองเกตุ. (2561). การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1).

Deepika & M. R. (2014). Management business finance. International Research Journal of Management Sciences & Technology, 5.

Grose, V. L. (1987). Managing Risk – Systematic Loss Prevention for Executives. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Guttmann, A. (1986). Sports spectators. New York: Columbia Univer- sity Press.

Kritikos, K., Pernici, B., Plebani, P., Cappiello, C., Comuzzi, M., Benrernou, S., Brandic, I., Kertesz, A.,

Parkin, M., and Carro, M. (2013). A survey on service quality description. ACM Comput. Surv, 46(1), Article 1, 58 pages.

Akinsanmi, O., & Nathaniel, F. (2012). The Role of sports in national development. Journal of Science and Science Education, 3(1), 1–6.

Myers, T. D., Balmer, N. J., Nevill, A. M., & Al-Nakeeb, Y. (2006). Evidence of Nationalistic Bias in Muaythai. Journal of Sports Science and Medicine. 5(CSSI), 21-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-01