องค์การแห่งการเรียนรู้ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสำคัญ:
องค์กรแห่งการเรียนรู้, การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนจังหวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ระดับองค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Structural Equation Modeling (SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการปฏิบัติงานในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.61 โดยผลการปฏิบัติงานด้านความรู้สูงกว่าผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน 2) องค์ประกอบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.58 โดยสูงสุด คือ การให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ การสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการเรียนรู้ การสร้างระบบเก็บและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สร้างสรรค์โอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการไต่ถามและการสนทนา การกระตุ้นให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 3) องค์ประกอบความองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานเชิงการเงินในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การส่งเสริมการไต่ถามและการ สนทนา (1.99) และการสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการเรียนรู้ (0.19) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อการปฏิบัติงานเชิงการเงินในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การสร้างระบบเก็บและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ (-1.77) และการให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ (-0.47) สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานเชิงความรู้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การให้อำนาจบุคคลตามวิสัยทัศน์ (0.39) ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อการปฏิบัติงานเชิงความรู้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การสร้างสรรค์โอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (-0.26) งานวิจัยให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือ ควรส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนำเอาแนวทางการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
References
เฉลิมฤทธิ์ สาระกุล และสุรางค์ เทพศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การเรียนรู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดสำนักงานเขตสระบุรี. งานนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
เอกพล สุมานันทกุล, ภารดี อนันตนาวี, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และเรณา พงษ์เรืองพันธ์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการบริหารการศึกษา, 6(1).
De Villiers, W. A. (2007). The Learning Organization: Validating a Measuring Instrument. Journal of Global Strategic Management, 1(1), 115-123.
Garvin, D. (1993). Building a learning organization. Harvard Business Review, 7(4), 78-91.
Garvin, D. A. et al. (1993). Is Yours a Learning Organization?. Harvard Business Review, 86(3), 109-116.
Marquardt, M. (1996). The global advantage: How world-class organizations improve performance through globalization. Huston, TX: Gulf Publishing.
Marsick, V., & Watkins, K. (2003). The learning organization: An integrative vision for HRD. Human Resource Development Quarterly, 3(4), 353-359.
Pedler, M., Burgoyne,J. and Boydell, T. (1997). The learning company: A strategy for sustainable development (2nded.). London: MacGraw - Hill.
Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Double day Currency.
Senge, P., et al. (1994). The Fifth Discipline Field Book Strategies and Tools for Building a Learning Organization. New York: Currency Doubleday.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Hair, et al. (1998). Multivariate Data Analysis with Readings. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: John Wiley and Sons, Inc.
Sorbon, D. (1996). LISREL 8: User’s Reference Guide. Scientific Software International.
Hussein, N., Mohamad, A., Noordin, F., & Ishak, N. A. (2014). Learning Organization and its Effect On Organizational Performance and Organizational Innovativeness: A Proposed Framework for Malaysian Public Institutions of Higher Education.
Amsterdam, Netherlands: Elsevier Ltd.