การเลือกตั้ง 2562 : เส้นทางสู่ประชาธิปไตยภายใต้อำนาจนิยม
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตย, อำนาจนิยม, การเลือกตั้งบทคัดย่อ
แนวคิดประชาธิปไตยกับอำนาจนิยมถือเป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกันข้าม หากแต่คุณลักษณะของแนวคิดประชาธิปไตยเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ทั้งนี้เพราะเป็นแนวคิดที่นำมาซึ่งผู้ปกครองที่เป็น ที่ยอมรับด้วยวิธีการการเลือกตั้ง ที่เป็นหลักการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย หากแต่ในประเทศที่เกิดการรัฐประหารและมีการสถาปนาผู้ปกครองโดยไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย การใช้อำนาจแบบอำนาจนิยมของผู้ปกครองก็เข้าแทนที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนที่ต่างเฝ้ารอการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง ในช่วงระหว่างประชาธิปไตยกำลังถูกลดทอนลงกับการสะสมอำนาจนิยมของกลุ่มบุคคล ที่ครองอำนาจทางการเมือง ย่อมทำให้กลุ่มบุคคลที่ครองอำนาจมีแนวโน้มนำกลุ่มอำนาจเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองตามขั้นตอนของประชาธิปไตยภายใต้บรรยากาศที่ยังไม่เปิดกว้างทางการเมือง งานเขียนชิ้นนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงลักษณะของประชาธิปไตยกับลักษณะของอำนาจนิยมที่มีเกื้อกูลกันและกัน โดยกลุ่มบุคคลทางการเมืองบางกลุ่มที่มีอำนาจได้ใช้อำนาจนิยมกำหนดวิธีการเข้าสู่กระบวนทางการเมืองจนสำเร็จท่ามกลางสังคมการเมืองที่ใช้สิทธิและเสรีภาพเรียกร้องในเชิงสนับสนุนและคัดค้าน
References
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). การเมือง แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2544). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). รัฐกับสังคม: ไตรลักษณ์รัฐไทยในพหุสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ไชยันต์ ไชยพร. (2540). บทความปรัชญาการเมืองว่าด้วยกำเนิดประชาธิปไตยเอเธนส์ : การเมืองใน ประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ในการเมือง. ในเอกสารประกอบการสอนนิสิตปริญญาเอก (อัดสำเนา)., กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีดี พนมยงค์. (2552). แนวความคิดประชาธิปไตยของปรีดี พนมยงค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
สุรพศ ทวีศักดิ์. (2557). ไตรทัศน์วิจารณ์ : ความคิดว่าด้วยพุทธศาสนา สถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตย ของ ส. ศิวรักษ์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2542). การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง : ข้อพิจารณาเบื้องต้นในเชิงปรัชญาสังคมศาสตร์. โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gandhi, J. (2008). Political Institutions under Dictatorship. New York: The United States of America by Cambridge University Press.
McKenzie, W. J. M. (1969). Political and Social Science. Baltimore: Penguin Books, Inc.
Miller, J. D. B. (1962). The Natures of Politics. London: Gerald Duckworth.