ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมายกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ

ผู้แต่ง

  • รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ
  • ยุวัฒน์ วุฒิเมธี

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมาย, การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ, ความสัมฤทธิผล

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมายกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โดยศึกษาหาความสอดคล้องของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมายกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ”นำไปสู่การพัฒนาสถาบันอนุญาโตตุลาการให้เกิดความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในประเทศและนานาประเทศการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ให้เจ้าหน้าที่มีจริยธรรม คุณธรรม มุ่งให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี และการส่งเสริมให้เกิดการสร้าง ธรรมาภิบาลนั้น มาจากความร่วมมือของ ทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม โดยเฉพาะการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการระงับ ข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทอีกทางเลือกหนึ่งอันเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก และเป็นที่นิยมใช้ในการแก้บัญหาข้อโต้แย้งระหว่างคู่กรณีมากขึ้น การนำหลักธรรมาภิบาลทางกฎหมายมาใช้กับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ จะต้องพิจารณาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมายที่นำมาใช้กับกระบวนการการระงับข้อพิพาท ว่ามีความสำคัญและมีความเหมาะสมและสามารถกำหนดขอบเขตที่นำมาปรับใช้กับการทำงานของอนุญาโตตุลาการแค่ไหน? อย่างไร? เพราะว่าต้องพิจารณาหลักธรรมาภิบาลที่มีหลายประเด็นที่ไม่อาจครอบคลุมได้ทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องเลือกตัวชี้วัด ธรรมาภิบาลทางกฎหมายที่มีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องและสามารถใช้ได้กับกระบวนการการระงับข้อพิพาทโดยเฉพาะ การนำตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่รัฐบาลกำหนดไว้ทุกตัวมาใช้ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากยิ่ง เนื่องจากลักษณะการทำงานของกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ เป็นการใช้อำนาจตุลาการ เช่นเดียวกับผู้พิพากษาที่แตกต่างจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ดังนั้น การนำหลักธรรมาภิบาลทางกฎหมายมาใช้กับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ จึงย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และขอบเขตที่นำมาปรับใช้กับการทำงานของอนุญาโตตุลาการ ได้แก่ ด้านนิติธรรม โดยมีตัวชี้วัด 5 ด้าน คือ ก. คุณธรรมและจริยธรรม ข. การเปิดเผยข้อเท็จจริง ค. หลักการรักษาความลับ ง. การรับสินบนกับความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ และ จ. ความเสมอภาค และใช้ ตัวประเมินคุณภาพของการดำเนินการ 10 ข้อ คือ มุ่งไปยังการประเมิน 1) ประสิทธิผล 2) ประสิทธิภาพ 3) การตอบสนอง 4) ภาระรับผิดชอบ 5) ความโปร่งใส 6) การมีส่วนร่วม 7) การกระจายอำนาจ 8) นิติธรรม 9) ความเสมอภาค และ 10) มุ่งเน้นฉันทามติ เป็นตัวชี้วัดความสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงาน

References

เกรียงศักดิ์ อุรุพงศ์พิศาล. (2543). ความรับผิดทางอาญาของอนุญาโตตุลาการ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (2559). หลักนิติธรรมคืออะไร. วันที่ค้นข้อมูล 19 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก https:// www.Matichon.co.th>news_48994
ธรรมาภิบาลคืออะไร. วันที่ค้นข้อมูล 19 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก https://medinfo.psu.ac.th /pr/WebBoard/ readboard. php?id=20713
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก.
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545. (2545, 29 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 39 ก. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง.
รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารรัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: อินทภาษ.
เสาวนีย์ อัศวโรจน์. (2548). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีการระงับข้อพิพาททางธุรกิจโดยการอนุญาโตตุลาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. วันที่ค้นข้อมูล 1 มิถุนายน 2561, เข้าถึงได้จาก https:// www. opdc.go.th/content.php? menu_id=5&content_id=2442

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27