อิทธิพลตัวแปรคั่นกลางพหุขนานของทุนทางสังคมและการจัดการความรู้ที่ถ่ายทอดอิทธิพลของระบบปฏิบัติงานที่ดีสู่ประสิทธิภาพของพนักงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สวงค์ ใหมห้อง
  • ธัญนันท์ บุญอยู่

คำสำคัญ:

ระบบปฏิบัติงานที่ดี, ทุนทางสังคม, การจัดการความรู้, ประสิทธิของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของระบบปฏิบัติงานที่ดี ทุนทางสังคม การจัดการความรู้ และประสิทธิภาพของพนักงาน และ (2) ทุนทางสังคมและการจัดการความรู้ที่อยู่ในฐานะตัวแปรเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างระบบปฏิบัติงานที่ดีกับประสิทธิภาพของพนักงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 210 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีมีระดับระบบปฏิบัติงานที่ดี ทุนทางสังคม การจัดการความรู้ และประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ทุนทางสังคมและการจัดการความรู้เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างระบบปฏิบัติงานที่ดีกับประสิทธิภาพของพนักงาน ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทุนทางสังคมและการจัดการความรู้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มาสนับสนุนให้เกิดระบบปฏิบัติงานที่ดีที่จะทำให้บุคคลในองค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2561). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่. วันที่ค้นข้อมูล 15 ธันวาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search
พิทยา บวรวัฒนา. (2552). ทฤษฎีองค์กรสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภา.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้ และการเป็นผู้ประกอบการสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่อง หนัง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 8(ฉบับพิเศษ), 44-62.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. (2561). อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์.วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.gsb.or.th/getattachment /b3361 bfd-1133-4de1-aecc-7693b6a7adfc/IN_electronic_61_detail.aspx
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วันที่ค้นข้อมูล 4 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.oie.go.th/sites/default /files/attachments/IndustBasicKnowledge/Master_10.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2557). อุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ถึงเวลาเปลี่ยนตำแหน่ง เชิงยุทธศาสตร์ใหม่. วันที่ค้นข้อมูล 4 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จากhttp://www.oie.go.th/sites/default/ files/attachments/publications/oie_share_vol27jun2557.pdf.
Boxall, P., & Macky, K. (2009). Research and theory on high-performance work systems: progressing the high involvement stream. Human Resource Management Journal, 19(1), 3-23.
Du, R., Ai, S., & Ren, Y. (2007). Relationship between knowledge sharing and performance: A survey in Xi’an China. Export system with applications, 32(1), 34-46.
Evans, W., & Davis, W. (2005). High-performance work systems and organizational performance: The mediating role of international social structure. Journal of Management, 31(5), 758-775.
Gittel, J. H., Seidner, R., & Wimmbuss, J. (2009). A Relational Model of How High-Performance Work Systems Work. Organization Science Articles in Advance, 1(17), 1047-7039.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New York: Prentice-Hall.
Hair, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C., & Gudergan, S. P. (2018). SmartPLS 3. Retrieved March 8, 2019, from https://www.smartpls.com/downloads
Jiang, J. Y., & Liu, C.H. (2014). High performance work systems and organizational effectiveness: The mediating role of social capital. Journal of Human Resource Management Review, 25(1), 126-137.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Messersmith, J. G., & Guthrie, J. P. (2011). High performance work system in emergent Organizations: Implications for firm performance. Journal of Human Resource Management, 49(2), 241-264.
Ramsay, H., Scholarios, D., & Harley, B. (2000). Employees and High-Performance Work Systems: Testing Inside the Black Box. British Journal of Industrial Relations, 38(4), 501-531.
Shahzadi, I., Javed, A., Pirzada, S. S., Nasreen, S., & Khanam, F. (2014). Impact of employee motivation on employee performance. European Journal of Business and Management, 6(23), 159-166.
Taghipour, A. & Dejban, R. (2013). Job performance: Mediate mechanism of work motivation. Social and Behavioral Sciences, 84, 1601-1605.
Takeuchi, K., Lepak, D. P., Wang, H., & Takeuchi, R. (2007). An Empirical Examination of the Mechanisms Mediating Between High-Performance Work Systems and the Performance of Japanese Organizations. Journal of Applied Psychology, 92(4), 1069–1083.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27