มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัญญรัตน์ ซ้ายพัฒน์
  • จินตนา ตันสุวรรณนนท์

คำสำคัญ:

สหกรณ์การเกษตร, ปัญหาการทุจริต, มาตรการป้องกันและแก้ไข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เริ่มต้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อค้นหาสภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามสำหรับใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาครัฐ ประธานกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 416 คน ตามสูตร Yamane (Yamane, 1973) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 5 และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้จังหวัดและกลุ่มประชากรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ผลการศึกษา พบว่า มาตรการป้องกันปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทยที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มี 4 มาตรการหลัก ได้แก่ 1) มาตรการสร้างและพัฒนาระบบส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ 2) มาตรการสร้างระบบกำกับดูแลและตรวจสอบภายในสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ 3) มาตรการกำหนดนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบและจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และ 4) มาตรการสร้างความร่วมมือในขบวนการสหกรณ์เพื่อการป้องกันการทุจริต สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย มี 2 มาตรการหลัก ได้แก่ 1) มาตรการดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด และ 2) มาตรการเยียวยาผู้เสียหายและบรรเทา ความรุนแรงของปัญหาการทุจริต ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และวางระบบหรือพัฒนาระบบการกำกับดูแลสหกรณ์การเกษตรที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2561). สารสนเทศสหกรณ์ ณ 31 ธันวาคม 2561. วันที่ค้นข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก http://office.cpd.go.th/itc/index.php/76-cat-coop/624-cooperative-information-as-of-31-61
คณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ. (2558). การปฏิรูปมาตรการเสริมสร้างระบบการบริหารงานที่มีธรรมาภิบาลในภาครัฐ. วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้จากhttps://libraparliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d091959-01.pdf
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2551). สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพ: บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด.
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ. (2554). ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการธุรกิจเอกชนไทยกับแนวทางแก้ไขและป้องกัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
ประวีณา ชะลุย. (2549). การนำเสนอยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการชุมชนในการป้องกันการทุจริต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรชัย ขันตี, (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการงานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ: สุเนตรฟิล์ม.
รุจิพัชร์ กิตติวิวัฒนพงศ์ และกนกรัตน์ ยศไกร. (2559). ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 6(1), 235.
ศิลาพร ไชสวัสดิ์ และ ญาดา กาศยปนันทน์. (2559). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้บริหารสหกรณ์ยักยอกทรัพย์และฉ้อโกง. ม.ป.ท.
สิริพันธ์ พลรบ. (2555). หลักความเป็นธรรมทางกฎหมายและกฎหมายทรัสต์ (หน่วยที่ 4). เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุดสงวน สุธีสร. (2543). เหยื่ออาชญากรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สุดสงวน สุธีสร. (2554). อาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2560). การศึกษาหลักเกณฑ์สากลและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการกากับดูแลสหกรณ์เพื่อการพัฒนากฎหมายสหกรณ์ของไทย. วันที่ค้นข้อมูล 22 ธันวาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/2201a7b8-6675-4d26-8e5a-b1af9fb4debc/9112.aspx
อุษณา ภัทรมนตรี. (2558). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ (ฉบับปรับปรุงและพิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.
Berle, A., & Means, G. (1932). The Modern Corporation and Private Property. New York: Macmillan Co.
Coleman, J. W. (2006). The Criminal Elite Understanding White Collar Crime. New York: Worth Publishers.
Cressey, D. R. (1996). Insider Trading: Regulation Enforcement and Prevention. Clark Boardman: Callaghan.
Global Fraud Report. (2010). Retrieved January 21, 2019, from https://eiuperspectives.economist. com/strategy- leadership/global-fraud-report-2009-2010
Sutherland, E. H. (1961). The Nature Impact and Persecution of White-Collar-Crime. White Collar Crime. N.Y. Holt, rineheart and Winton.
Hair, J. F., Black, W. C., & Babin, B. J. (2010). Multivariate Data Analysis A Global Perspective: Pearson Education. New Jersey: U.S.A.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27