บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการกำกับดูแลผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่หลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • นงนุช ศรีสุข

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, บทบาทสภามหาวิทยาลัย, ผู้บริหารมหาวิทยาลัย, การกำกับดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสภามหาวิทยาลัยและแนวทางในการกำกับดูแลธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และเพื่อศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดและการนำมาใช้กำกับดูแล ธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา คัดกรอง ดึงข้อมูลออกมา หลอมรวมและบูรณาการ กับการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการเอกสารงานวิจัย ข้อบังคับต่าง ๆ โครงสร้างและกลไกของระบบสภาและ ธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาของไทย ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของสภามหาวิทยาลัยและแนวทางในการกำกับดูแลธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการสรรหาและเสนอแต่งตั้งอธิการบดี บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการแก้ไขพระราชบัญญัติ บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำหนดโครงสร้างของสภามหาวิทยาลัย นำมาสู่บทบาทสภามหาวิทยาลัยในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของอธิการบดี คือ บทบาทในการแก้ไขพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550 การโครงสร้างของสภามหาวิทยาลัยบูรพาที่เข้มแข็ง และการกำกับดูแลผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่หลักธรรมาภิบาล สำหรับประเด็นการพัฒนาตัวชี้วัดและการนำมาใช้กำกับดูแลธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัย คือ ประเด็นสำคัญที่สภามหาวิทยาลัยได้การเสนอปรับปรุงพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550 การทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อนำมาใช้กำกับดูแลธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

References

ณดา จันทร์สม. (2559). ธรรมาภิบาลกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทย. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์,10(2).
พิศสมัย หมกทอง. (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสานักงานเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบันฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจรุณ ธีรปญฺโญ (เวฬุวาปี). (2553). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลลาพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธิ์.(2559). การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. รายงานการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2558. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล.
ราชกิจจานุเบกษา. (2559). คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 155 ง. 24.
เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2557). บทบาทของสภามหาวิทยาลัยในการบริหารทรัพยากรบุคคล กรอบความคิดตัวแบบ และการกำหนดทิศทาง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(ฉบับพิเศษ).
วิจารณ์ พานิช. (2552). สรุปการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนายกสภามหาวิทยาลัย เรื่องธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา. ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย ฉบับปฐมฤกษ์, 1(1), 14-15.
สุดสาคร สิงห์ทอง และวรเดช จันทรศร. (2560). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 131-158.
สุภางค์ จันทวานิช. (2531). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
De Boer, H., Enders, J., & Leisyte, L. (2007). “Public Sector Reform in Dutch Higher Education: The Organizational Transformation of the University”. Public Administration, 85(1), 27-46.
Organization for Economic Co-operation and Development. (2008). OECD principles of corporate governance. France: OECD publications
UNDP. (1997). Governance for Sustainable Human Development, A UNDP policy document. Retrieved January 28, 2018, from http:// www.magnet.undp.org/policy/chapter1.htm
Trakman, L. (2008). “Modelling University Governance”. Higher Education Quarterly,62(1/2), 64-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27