ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
คอร์รัปชัน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับลักษณะของการคอร์รัปชัน ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชัน เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันและลักษณะของการคอร์รัปชันจำแนกตามปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการคอร์รัปชันกับลักษณะของการคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรกลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์ และกลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด จำนวน 175 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธี Pearson โดยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) และ Spearman Rank Correlation ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะของการคอร์รัปชันในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.15) (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.59) โดย ด้านสิ่งจูงใจอยู่ในระดับน้อย (x ̅ = 2.03) อีก 3 ด้าน คือ ด้านโอกาส ด้านความเสี่ยงภัย และด้านความซื่อสัตย์อยู่ในระดับปานกลาง (3) ลักษณะของการคอร์รัปชัน พบว่า ระดับการศึกษาส่งผลต่อการคอร์รัปชันในด้านการยักยอก ด้านการเรียกรับเงิน และด้านการมีผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชัน พบว่า เพศและระดับการศึกษาส่งผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ลักษณะของการคอร์รัปชันกับปัจจัยที่มีผลต่อการคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์กันทางบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก (r = .92**)
References
กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (2561). การทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วันที่ค้นข้อมูล 26 กันยายน 2561, เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title
โกวิทย์ พวงงาม. (2549). รายงานการวิจัยประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิสเตอร์ก็อบปี้.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2557). การสร้างจิตสำนึกของความเป็นไทยค่านิยมเพื่อการต่อต้านป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 6(11).
พรศักดิ์ โชติพินิจ. (2558). ปัจจัยต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ศึกษาในองค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2).
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2544). ดัชนีคอร์รัปชันของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความชื่อถือได้. รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมูลนิธิอาเซียและสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.
วิชัย รูปขำดี. (2552). การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันบัณฑิตนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2549). คู่มือการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2557). สถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
สุธี อากาศฤกษ์. (2545). การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
สุนทรี เนียมณรงค์ (2554). ผลประโยชน์ทับซ้อนและการสมรู้ร่วมคิดที่มีผลต่อการคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 4(3).
อุษณา ภัทรมนตรี. (2552). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรี โปรดักท์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Transparency International. (2017). Corruption Perceptions Index. Retrieved September 26, 2018, from https://www.voathai.com/a/transparency-corruption-index/4270044.html