สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น หลักคิดและความเป็นจริงทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  • ชัยณรงค์ เครือนวน

คำสำคัญ:

สิทธิชุมชน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ และปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชน สามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงความคิด คือ สิทธิชุมชนก่อนการสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคการพัฒนา และสิทธิชุมชนที่ถูกรับรองโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่วนเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ ประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ เช่น ความสามารถออกแบบสถาบันทางสังคมของชุมชน ความสามารถสร้างกติกาและบังคับใช้กติกากับผู้ใช้ประโยชน์ในชุมชน ความสามารถสร้าง กระชับ และขยายเครือข่าย เป็นต้น สำหรับสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ประกอบด้วย ผู้ใช้ประโยชน์ภายนอก ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของชุมชน ข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ของชุมชน โครงสร้างอำนาจการจัดการทรัพยากรที่รัฐมีบทบาทเหนือกว่าชุมชน ความแตกต่างของกระบวนทัศน์การจัดการทรัพยากรระหว่างรัฐกับชุมชน การขาดกฎหมายลำดับรองที่รับรองการใช้สิทธิชุมชน ประสิทธิภาพของกระบวนการสอดส่อง ดูแล รวมทั้งความไม่เข้มแข็งและยั่งยืนของสถาบันทางสังคมที่ถูกจัดตั้งโดยชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28