ประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ธัช ขันธประสิทธิ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย      1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 118 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ที่ฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 คน คณาจารย์นิเทศ จำนวน 5 คน และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นิสิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยงาน รวมจำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก(equation= 4.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะส่วนบุคคลอยู่ในลำดับแรก (equation= 4.26) รองลงมาได้แก่ ด้านจริยธรรม (equation = 4.00) ด้านทักษะ (equation = 3.98) และด้านความรู้ (equation= 3.84) ตามลำดับ  ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า 1) ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสั้นเกินไป  2) ระยะเวลาการประสานหน่วยงานเพื่อขออนุญาตฝึกประสบการณ์วิชาชีพน้อยควรให้นิสิตเตรียมติดต่อตั้งแต่ปี 4 เทอม 1 3) ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายในช่วงฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่ตรงกับหลักสูตรที่เรียน ส่วนใหญ่เป็นงานสารบรรณ แต่ทำให้เข้าใจระบบงานสารบรรณของหน่วยงานราชการระดับหนึ่ง สำหรับแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ ได้แก่ 1) ควรมีการแนะแนวการฝึกงานและแนวปฏิบัติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เทอม 2  2) ควรมีการแนะแนวการเลือกสถานที่ฝึกงานให้แก่นิสิตตั้งแต่ปีที่ 3 เทอม 2  3) ควรมีหลักสูตรการพัฒนาบุคลิภาพ และภาวะความเป็นผู้นำ  4) ควรแนะแนวการฝึกงานโดยเจ้าหน้าที่จากแหล่งฝึกแต่ละประเภท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

นกน้อย สุทธิสนธ์. (2550). การศึกษาระบบและการวิธีการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล (2564). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์: สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนานักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 123-134.

ภาสกร แห่งศักดิ์ศรี. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิลป์ชัย พูลคล้าย. (2562). การพัฒนาระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภกิจ วิทยาศิลป์. (2550). การศึกษาระบบและวิธีบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศุภฤกษ์ คำแปล. (2560). การพัฒนาระบบฝึกประสบการวิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อรุณรัตน์ คล้ายพงษ์. (2551). ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามแนวความคิดของสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุรเชษฐ์ จันทร์งาม และกฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2560). การวางแผนทรัพยากรองค์กรบนคลาวด์เทคโนโลยีสำหรับศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารการอาชีวะและ เทคนิคศึกษา, 7(14). 18-26.

เอนก ประดิษฐารมณ์. (2560). การศึกษาความต้องการฝึกงานของนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนกลาง.

ภาษาอังกฤษ

Creswell, J. W., (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE.