การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาเรื่อง “การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี” วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปสู่การปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research )และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้วิธีการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ (Purposive) วิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) และเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้สถิติ Correlation โดยการอธิบายเชิงพรรณนาความสัมพันธ์ (r) ผลการศึกษา พบว่า 1. การศึกษาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี พบว่า นโยบายแรงงานต่างด้าวในอำนาจหน้าที่ของกลุ่มงานความมั่นคงในหน้าที่ภารกิจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน โดยถือได้ว่ารัฐบาลมีความพยายามที่จะกำหนดนโยบายให้ดีเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งภาครัฐอาจมองในประเด็นความมั่นคง แต่นโยบายนี้มีผลดีต่อด้านอื่น ๆ ด้วยทั้งด้านนายจ้างและลูกจ้างการนำนโยบายไปปฏิบัติคงใช้กับแรงงานทั้งหมด และภาพรวมการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรีโดยเจ้าหน้าที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมาก 2. การศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ประชาชนทราบและเข้าใจยังมีน้อยมาก จึงทำให้ประชาชน ผู้นำท้องชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และผู้ประกอบการ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย กฎระเบียบ คำสั่งต่างๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคในการบูรณาการร่วมกันกับผู้นำท้องชุมชนและผู้นำท้องถิ่น ทำให้การทำงานร่วมกันไม่สอดคล้องไปคนละทิศคนละทาง ผู้นำการปฏิบัติไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเจออุปสรรค ซึ่งเป็นความไม่เหมาะสมของนโยบาย เพราะจังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่ความเข้มของการปฏิบัติในเรื่องของการป้องกันปราบปรามแรงงานต่างด้าว และ 3. การศึกษาพบว่า แนวทางการไปปฏิบัติตามนโยบายต้องกำหนดให้ชัดเจน ครอบคลุม แน่นอน และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำไปสู่การปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ก่อให้เกิดความสับสนต่อการปฏิบัติงานตามนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน และต่อเนื่อง แนวทางการพัฒนาควรปรับปรุงนโยบายแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ควรอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ต้องปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรมีภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันโดยผู้กำหนดนโยบาย ควรกำหนดให้มีความชัดเจนและควรมีการผ่อนผันเนื่องจากจังหวัดชลบุรีเป็นพื้นที่มีการใช้แรงงานในภาคงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานบริการ และภาคงานเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งนโยบายฯบางอย่างใช้ได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น ควรมีการกำหนดนโยบายตามพื้นที่ให้เกิดความเหมาะสม
Article Details
References
ภาษาไทย
กองแผนงานและสารสนเทศ กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2566). วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.dsd.go.th/it
ชัชวาล ภู่ทอง, จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์ และลือชัย วงษ์ทอง. (2563). การศึกษาเรื่องการแปลงนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรกรรมตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยาณี กปิตถัย. (2562). การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลือชัย วงษ์ทอง. (2555). ประสิทธิผลของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลือชัย วงษ์ทอง. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลือชัย วงษ์ทอง. (2561). ความรู้เกี่ยวกับสถิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่องานวิจัยทางสังคมศาสตร์. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน. (2565). สถานการณ์แรงงานต่างด้าวประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน.
ภาษาอังกฤษ
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1976). The implementation of intergovernmental policy. In C. O. Jones, & R. D. Thomas (Eds.), Public policy making in a federal system. California: Sage Publications.