การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นมที่ตำบลสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 283 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น (Linear Coefficient Correlation, r) เพื่อทดสอบสมมติฐนาการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีระดับการจัดการธุรกิจชุมชนในช่วงภาวะวิกฤติโควิด-19 โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมกไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านผู้นำกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย 4.00) รองลงมาคือด้านการผลิต (ค่าเฉลี่ย 3.83) ด้านบัญชีและการเงิน (ค่าเฉลี่ย 3.78) ด้านการจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.70) และด้านการตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.43) ตามลำดับ และมีระดับความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชน โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.90) และเมื่อพิจรณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านความยั่งยืน (ค่าเฉลี่ย 4.19) รองลงมาคือด้านการขยายต่อ/การพัฒนา (ค่าเฉลี่ย 3.92) และด้านความเข้มแข็ง (ค่าเฉลี่ย 3.60) ตามลำดับ และ 2) การจัดการธุรกิจชุมชนในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงในระดับสูง (r=0.724) เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อยจะพบว่ามีความสัมพันธ์สูง 4 ตัวแปรโดยสามารถเรียงจากลำดับมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านบัญชีและการเงิน (r=0.650) ด้านการจัดการ (r=0.595) และด้านการผลิต (r=0.551) และมีความสัมพันธ์ปานกลาง จำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการตลาด (r=0.418)
Article Details
References
ภาษาไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชมภูนุท จั่นนุ้ย และพินิจ ลาภธนานนท์. (2562). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนบนพื้นฐานความอยู่รอดและพอเพียง. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 14(1), 67 – 78.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา: สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และชเนตตี พุ่มพฤกษ์. (2565). ทางรอดและแนวทางการปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนแนววิถีใหม่หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 1-19.
ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2563). การปรับตัวของธุรกิจหลังยุค COVID-19. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 12(2), 99-110.
วัชระ ขาวสังข์. (2564). กระบวนการจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ ของวิสาหกิจชุมชน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในสถานการณ์โควิด 19. รายงานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณบำรุงการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วัลลี พุทโสม. (2564). แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของความสามารถในการปรับตัวกับผลการดำเนินงานและความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กในสถานการณ์โควิด-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 129 – 144.
วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. (2558). การศึกษาวิจัยการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. เอกสารประกอบการสัมมนาการเมืองการปกครองไทย 2558 เรื่องพลเมืองและชุมชน พลังเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย. วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ศุทธิกานต์ คงคล้าย และวินิตรา ลีละพัฒนา. (2564). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจชุมชนในภาวะวิกฤติโควิด (Covid-19): กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยหอมทองทุ่งคาวัด. ใน บทความวิจัยในการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม”. (หน้า 761-779).
ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2565). รูปแบบการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ New normal. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 89-104.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
สุนิสา ละวรรณวงษ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ ประชาคมอาเซียน. วารสาร Verdian E-Journal. Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 1192-1211.
ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ และคณะ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3), 371-386.
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 33-50.
ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2), 12 – 25.
ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2558). บทบาทของภาครัฐก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมโรงแรมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2562). การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาษาอังกฤษ
McKee, D. O., Varadarajan, P. R. & Pride, W. M. (1989). Strategic adaptability and firm performance : market-contingent perspective. Journal of Marketing, 53(3), 21-35.