แนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์

Main Article Content

วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย
ธีระวัฒน์ จันทึก
วชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์
ธีระ กุลสวัสดิ์
ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน
ธัญพิชชา สามารถ
สมคิด เพชรประเสริฐ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งมุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพและทรัพยากรของชุมชน รวมถึงพัฒนาแนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และศึกษาศักยภาพชุมชน เรียนรู้และพัฒนาร่วมกับชุมชน เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงในพื้นที่ศึกษาโดยเลือกตามศักยภาพชุมชนที่มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และพัฒนาชุมชนร่วมกับ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ภาครัฐ 2 คน นักพัฒนาชุมชน 1 คน ปราชญ์ชุมชน 1 คน และสมาชิกชุมชน 4 คน ต่อ 1 พื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนบ้านบาตร และพื้นที่ชุมชนวัดโสมนัส ที่เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านองค์ความรู้กับชุมชน การสร้างตราสินค้า (Brand) จากอัตลักษณ์ชุมชน การบูรณาการวัฒนธรรมกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนทางการเงิน สนับสนุนทางด้านเครือข่ายเพื่อยกระดับศักยภาพชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ร่างกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านวัฒนธรรมตามกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อรรถพลการพิมพ์.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). การส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และคณะ. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2), 52-83.

วรรณดี สุทธิวรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วิลาวัณย์ มีอินถา. (2553). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. จุลนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2560). กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(47), 95-121.

สำนักงาน กปร. (2546). กษัตริย์นักพัฒนา. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา. วันที่ค้นข้อมูล กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/ lawguide/law1/6.pdf

Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A Sourcebook. Chicago: Aldine Publishing Company.

Jonathan, et al. (2019). Let the Logo Do the Talking: The Influence of Logo Descriptiveness on Brand Equity. Journal of Marketing Research, 56(5), 862-878.

Kaili, Y. et al. (2018). An investigation of B-to-B brand value: evidence from manufacturing SMEs in Taiwan. Journal of Business-to-Business Marketing, 25(2), 119-136.

Khuram, et al. (2018). Exploration of Global Brand Value Announcements and Market Reaction. Administrative sciences, 8(49), 1-11.

Manuel, P. T., & Seung-Ho. (2018). Citizen-Based Brand Equity: A Model and Experimental Evaluation. Journal of Public Administration Research and Theory, 28(3), 321-338.

Pinar, B. (2016). Effect of Brand Value Announcements on Stock Returns: Empirical Evidence from Turkey. Journal of Business Economics and Management, 17(6), 1252-1269.

Ray, R. (2016). Corporate Brand Value Shifting from Identity to Innovation Capability: from Coca-Cola to Apple. Journal of Technology Management & Innovation, 11(3), 11-20.

Sachs, J., Lafortune, G., Kroll, C., Fuller, G. & Woelm, F. (2022). Sustainable Development Report 2022 From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond Includes the SDG Index and Dashboards. Cambridge University Press. United Kingdom. 493 pages.