การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

จิดาภา ธรรมรักษ์กุล
อนิรุทธิ์ อัศวสกุลศร

บทคัดย่อ

          เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เป็นเทคโนโลยีผสมโลกของความจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งจำลองเหล่านั้นได้ ซึ่งจะมีศักยภาพในการนำเสนอเนื้อหาที่ได้เปรียบกว่าการใช้สื่อแบบเดิมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้น่าสนใจและแปลกใหม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว  โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน  จ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพิพิธภัณฑ์และเพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้เลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี และนักท่องเที่ยวและผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์ ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านการนำเสนอและการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ โดยจัดแสดงในรูปแบบสามมิติเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างการเรียนรู้ให้สามารถเข้าใจง่าย เพิ่มช่องทางในการให้ข้อมูลเป็นการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางจริง แต่เป็นการเดินทางแบบ “เสมือนจริง” และเป็นสื่ออีกหนึ่งช่องทางที่ใช้ เพื่อจูงใจส่งเสริมประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีต่อไปในระดับที่ลึกลงไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). เอกสารรายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 136-146.

ชัยอนันต์ สาขะจันทร์. (2558). รายงานการวิจัย การออกแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเรื่อง พุทธมณฑล ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ณิชานันท์ เอี่ยมเพ็ชร. (2557). การท่องเที่ยวไทย ในอาเซียนและทิศทางหลังเปิด AEC. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

โตมร ศุขปรีชา. (2560). Food tourism 2.0. TAT Review Magazine, 3(1), 1-2.

นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์. (2560). Pop Culture Tourism. Retrieved from http://www.etatjournal.com/web/ component/tags/tag/pop-culture-tourism

พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง, Executive Journal, 30(2), 169-175.

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2560). Understanding Y. วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.tatreviewmagazine.com/web/menu-read-tat/menu-2017/menu-32017/798-32017-gen-y

รัตนาพร เจียงคา, ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2557). การพัฒนานิทรรศการเสมือน มิติ เรื่องพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทยของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.kmutt.ac.th/jif/

โศรยา หอมชื่น. (2551). ศตวรรษที่ 21 ของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา. วันที่ค้นข้อมูล 15 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.etatjournal.com/upload/225/2SportTourism.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Chou, T. L., & Chanlin, L. G. (2012). Augmented reality smartphone environment orientation application: a case study of the Fu-Jen University mobile campus touring system. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 46, 410-416.

Phattharasaya. (2559). AR Technology: เทคโนโลยีโลกความจริงเสริม. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก https://library.stou.ac.th/